Page 114 -
P. 114

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      108


               โรคนั้นจะขยายมีขนาดใหญ่เป็นช่วง ๆ มีลักษณะเป็นปมพองใหญ่ขึ้น  และรากกุดเป็นปม   เมื่อรากเป็นโรค

               นี้จะทําหน้าที่ไม่เป็นตามปกติได้ เช่น ดูดแร่ธาตุอาหาร นํ้า ได้ลดลง จึงทําให้ต้นไม่เจริญ
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               สาเหตุเกิดจากการทําลายของไส้เดือนฝอยรากปม  Meloidogyne  incognita  ตัวอ่อนของ

               ไส้เดือนฝอยจะอยู่ในดินที่มีความชื้นสูง ตัวอ่อนในระยะที่โตขึ้นจะไชรากพืชเข้าไปอยู่อาศัยดูดกินนํ้าเลี้ยง

               ภายในรากและตัวเมียจะโตพองขึ้น จะมีลักษณะเป็นถุงเซลล์รากที่ถูกทําลายบริเวณรอบ ๆ ตัวไส้เดือนฝอย
               เซลล์จะเพิ่มปริมาณมาก อีกทั้งบางเซลล์บวมใหญ่ทําให้เกิดอาการรากปม  นํ้าเป็นพาหะนําตัวไส้เดือนฝอย

               ไปแพร่ระบาดสู่ต้นอื่น ๆ

                         การป้องกันและกําจัด :

                               เนื่องจากการทําลายของไส้เดือนฝอยรากปมของสับปะรด ยังไม่ปรากฏทําลายให้เกิด
               ความเสียหายถึงขั้นร้ายแรงอย่างเด่นชัด  สําหรับการป้องกันกําจัดมีวิธีการทําได้โดยขุดไถและตากดิน ถ้า

               ปรากฏว่ามีโรคนี้เกิดระบาดก็ต้องหว่านด้วยสารเคมี เช่น คาร์โบฟูแรน  รักบี้  โมแคป ไวเดท 15 กรัมต่อ 1

               ตารางเมตร ให้ทั่ว แล้วไถกลบลงดินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนปลูกใหม่และในขณะที่พืชยังเล็กพอที่จะใช้
               เครื่องมือไถพรวนได้



               4. โรคผลเน่าสีดํา

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อบักเตรีจะเข้าทําลายตรงบริเวณตาของผล เข้าสู่เนื้อภายใน ซึ่งระยะแรกจะเกิด เป็นจุด
               สีนํ้าตาลไหม้ แล้วเชื้อจะขยายการทําลายไปทั่วตาและเข้าไปสู่ตาในบริเวณใกล้เคียง  ผลจะเปลี่ยนจากสี

               นํ้าตาลไหม้เป็นสีนํ้าตาลดํา เมื่อผ่าตรวจดูภายในเนื้อเยื่อของผลจะพบว่ามีลักษณะอาการเน่าและฉํ่านํ้าสี

               นํ้าตาลเข้ม ซึ่งบางส่วนจะเป็นสีนํ้าตาลดํา ลักษณะอาการเช่นนี้อาจเกิดเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของผล และใน
               ที่สุดจะเกิดเน่าหมดทั้งผล โรคนี้จะเกิดตั้งแต่ระยะออกดอกที่ส่วนของรังไข่จนถึงระยะสุกหรือแก่เต็มที่ก่อน

               การเก็บเกี่ยว และจะเกิดโรคต่อเนื่องไปจนถึงระยะหลังการเก็บเกี่ยว ทําให้เกิดเสียหายมากต่อผลสับปะรดที่

               จะต้องส่งออกไปจําหน่ายสด หรือส่งโรงงานแปรรูป
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อบักเตรี  Pseudomonas   ananas   แมลงและนํ้าเป็นพาหะที่สําคัญของการแพร่

               ระบาด เมื่อเชื้อบักเตรีเข้าสู่เนื้อเยื่อภายใน ย่อมจะเป็นแหล่งเพิ่มและเพาะเชื้อได้เป็นอย่างดี

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ในระยะเริ่มออกดอกควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น สเตรปโตมัยซิน 2 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตรหรือ
               คิวปรัสออกไซด์ 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร สําหรับผลที่เป็นโรคต้องเอาออกไปฝังดินทําลายเสีย โดยฝังให้ลึก
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119