Page 116 -
P. 116
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
110
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxyporum f.sp.ananas เชื้อราเจริญอยู่ในดินและเกิดสปอร์
เป็นจํานวนมากที่รากเน่า ดังนั้น นํ้าจึงเป็นพาหะที่สําคัญของการแพร่ระบาด
การป้องกันและกําจัด :
ขุดต้นที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทําลายเสีย แล้วราดดินบริเวณนั้นด้วยสารเคมี เช่น พีซีเอ็น
บี 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้พอชุ่ม
7. โรคหน่อและผลเน่า
ลักษณะอาการ :
ส่วนใหญ่เชื้อราจะเข้าทําลายที่ฐานของหน่อสับปะรดที่ใช้ปลูก ตั้งแต่ยังเก็บกองกันไว้เพื่อ
จะนําไปปลูก หรือโรคจะเกิดขึ้นในระยะปลูกใหม่ ๆ โดยทีฐานของหน่อสับปะรดซึ่งเป็นแผลและแล้วเชื้อ
เข้าทําลาย เกิดลักษณะอาการเน่าสีนํ้าตาล บางครั้งจะเน่าและตายไปทั้งหน่อ แต่ถ้าเป็นโรคน้อย ผู้ปลูกมักจะ
ไม่เห็นแล้วนําหน่อเหล่านั้นไปปลูกต่อไป เมื่อปลูกไปได้ประมาณ 1-3 เดือน โรคก็เริ่มแสดงลักษณะการ
หน่อเน่าให้เห็น แล้วแห้งตายไป ซึ่งนับว่าเป็นผลเสียหายมาก ถ้าหน่อเป็นโรคนี้น้อยก็ยังเจริญต่อไปได้ แต่
ไม่สมบูรณ์ เชื้อราดังกล่าวก็จะเข้าไปสู่ใบทําให้ใบเน่าเกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลดํา กลางแผลจะแห้งเป็นสีฟางข้าว
และยังสามารถเกิดโรคในระยะติดผล ผลจะเน่าเป็นแถบหรือเกิดเป็นจุด เหมือนลักษณะอาการบนใบ
เนื้อเยื่อบางส่วนของผลเน่าเป็นสีดําอย่างเห็นได้ชัด
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Thielaviopsis paradoxa แพร่ระบาดไปโดยติดไปกับหน่อพันธุ์ซึ่ง
ส่วนมากเกษตรกรมักจะมองไม่เห็นลักษณะอาการขั้นต้นของโรคที่เกิดที่ฐานของหน่อ
การป้องกันและกําจัด :
หน่อพันธุ์ก่อนปลูกควรแช่ในสารเคมี เช่น เบโนมิล 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร นาน 30 นาที
แล้วนําออกมาผึ่งให้แห้ง
8. โรมาร์บลิ่ง
ลักษณะอาการ :
เชื้อบักเตรีที่เป็นสาเหตุของโรค จะผ่านเข้าทางต่อมนํ้าหวานที่ช่อดอกหรือตรงรอยแตกที่
ขั้ว เชื้อบักเตรีจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นพร้อมไปกับการเจริญเติบโตเนื้อเยื่อของผล บักเตรีจะขับนํ้าย่อยพร้อม
สารพิษออกมาทําลายกลุ่มเนื้อเยื่อ ทําให้เกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลเป็นแห่ง ๆ ในขณะเดียวกันก็จะมีกลุ่มเนื้อเยื่อสี
ขาวขุ่น เกิดกระจัดกระจายสลับกันไป แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีกลุ่มเนื้อเยื่อที่เป็นสีนํ้าตาลมากกว่า ลักษณะ