Page 115 -
P. 115
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
109
อย่างน้อย 60 ซม. ในแหล่งที่มีโรคนี้แพร่ระบาดมาก หากพบว่ามีแมลงมาเกาะดูดกินจากผลที่เป็นโรคก็ควร
พ่นด้วยสารเคมีป้องกันและกําจัดแมลงตามความจําเป็น
5. โรคผลเน่าสีนํ้าตาล
ลักษณะอาการ :
เชื้อบักเตรีจะเข้าทําลายส่วนยอดของรังไข่ และบริเวณส่วนบนของผลคือ ส่วนที่อยู่ติดกับ
จุกหรือกลุ่มใบ แต่ส่วนมากจะเกิดในระยะที่ผลใกล้สุกหรือแก่เต็มที่แล้ว ลักษณะอาการภายนอกของผล
หรือผิวเปลือกมักจะไม่ค่อยชัดเจน เพราะตาที่ผลจะเกิดเน่าเป็นสีนํ้าตาลปนสีเขียวในระยะแรก เมื่อเกิดใน
ระยะผลสุกแผลที่ถูกทําลายจะเป็นสีนํ้าตาล ตาที่เน่าจะขยายลุกลามไปยังตาบริเวณข้างเคียง จึงทําให้เห็น
ลักษณะอาการได้ง่ายยิ่งขึ้น เมื่อผ่าตรวจดูภายในเนื้อเยื่อของผลจะพบว่าส่วนที่เน่าจะเป็นสีเหลืองปนนํ้าตาล
บางส่วนจะเกิดเป็นไตแข็ง สีขาวนวลปนเหลือง ในขณะเดียวกันก็จะมีจุดสีม่วงดําเกิดอยู่ประปรายทั่วไป
อย่างไรก็ตามเมื่อยังอยู่ในสภาพไร่เชื้อโรคก็สามารถเข้าทําลายใบ เกิดเป็นจุดและขีดสีเหลืองเป็นทางยาว
แล้วแห้งไป
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อบักเตรี Erwinia ananas ในการแพร่ระบาดนั้นมีนํ้าและแมลงเป็นพาหะ
สําคัญ ซึ่งแมลงจะมาไต่ตอมผลที่เน่าและพาเชื้อบักเตรีสาเหตุของโรคติดไปแพร่ระบาดสู่ต้นอื่น ๆ อีก
การป้องกันและกําจัด :
ในระยะออกดอกควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น คิวปรัสออกไซด์ 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ
สารปฏิชีวนะ เช่น อะกริมัยซิน-100 อัตรา 2 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ถ้าหากเป็นมากในระยะติดผล ก็ควรพ่นอีก
ครั้งหนึ่ง
6. โรคเหี่ยว
ลักษณะอาการ :
เชื้อราสาเหตุของโรคเจริญอยู่ในดินบริเวณนั้น แล้วเข้ามาทําลายรากให้เกิดมีลักษณะ
อาการเน่า โดยในระยะแรกจะทําลายปลายรากและลุกลามเข้าไปยังรากส่วนใน รากจะเน่าเป็นสีนํ้าตาล ท่อ
นํ้าท่ออาหารถูกทําลายหมด ไม่สามารถส่งผ่านนํ้าและแร่ธาตุอาหารไปสู่ส่วนบนต่อไป อันเป็นผลให้เกิด
การเหี่ยวเฉา ใบสีเขียวหม่น ไม่สดใส เมื่อเป็นโรคมากจะทําให้รากเน่าหมดและจะยืนเหี่ยวเฉาแห้งตายไป
ทั้งต้น โรคนี้จะเกิดเป็นมากในแปลงสับปะรดที่ปลูกอยู่บนดินที่มีความชุ่มชื้นสูง โดยเฉพาะในฤดูฝนแต่ถ้า
ในฤดูกาลแห้งแล้งจะไม่ค่อยปรากฏว่าเป็นโรคนี้ การเกิดเป็นหย่อม ๆ กระจัดกระจายทั่วไปในแปลงปลูก