Page 113 -
P. 113
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
107
2. โรคผลแกน
ลักษณะอาการ :
อาการเกิดภายในเนื้อสับปะรด ลักษณะภายนอกเหมือนปกติทั่ว ๆ ไป เมื่อผ่าผลสับปะรด
ดูเนื้อเยื่อภายใน จะพบสับปะรดที่เป็นโรคนี้มีเนื้อเป็นไตค่อนข้างแข็งสีจางกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับของ
ปกติซึ่งมีเนื้อเยื่ออ่อนและฉํ่านํ้า จึงเรียกว่าสับปะรดเป็นไตแข็ง ในระยะเมื่อเริ่มเป็นโรคแรก ๆ ไตแข็งมีสี
แดงในระยะต่อมา เนื้อหมดคุณภาพ โดยตรงบริเวณส่วนนั้นและแกนกลางมักจะแข็งกว่าปกติ สําหรับการ
ตรวจผลที่เป็นโรคโดยไม่ต้องผ่าจะต้องมีความชํานาญพอสมควร โดยทําได้ด้วยการเคาะหรือดีดเสียงของผล
ปกติและผลที่เป็นโรคจะแตกต่างกัน โดยทั่วไปเมื่อผลสับปะรดเป็นโรคนี้มักจะเกิดช่องว่างโปร่ง ใน
บางส่วนของเนื้อเยื่อหรือเกิดเป็นโพรงขึ้นภายใน ถ้าเป็นโรคนี้ขั้นรุนแรงเนื้อบริเวณรอบตาภายในผลจะ
เปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลดํา
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคผลแกนของสับปะรด เป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดลงไปได้ แต่จาก
ผลการวิจัยขั้นมูลฐาน จะพบว่าสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่โดยตลอดเวลาและประกอบกับช่วงของการ
บังคับการออกดอกติดผลด้วยสารเคมี เช่น ใช้ เอททีฟอน หรือแคลเซี่ยมคาร์ไบด์ รวมทั้งการเจริญเติบโต
ของผลในช่วงที่กําลังพัฒนาเป็นเนื้อจนใกล้สุก โดยทั่วไปใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต เช่น เอน เอ เอ พ่น
ถ้าอยู่ในฤดูแล้งซึ่งมีความแห้งแล้งและร้อนจัด และในช่วงดังกล่าวหากมีฝนตกในขณะที่ผลใกล้สุก จะพบว่า
ถ้ามีการปลูกสับปะรดมานาน ขาดการปรับปรุงบํารุงดิน ดินมักจะขาดธาตุอาหาร เช่น โบรอน แคลเซียม
และธาตุอื่น ๆ ที่จําเป็นต่อการช่วยให้เนื้อเยื่อได้เจริญตามปกติ ผลผลิตสับปะรดจะเป็นโรคผลแกนแข็ง
เกิดขึ้นมาก
การป้องกันและกําจัด :
ควรหลีกเลี่ยงการบังคับสับปะรดให้สุกในฤดูแล้ง หากมีความจําเป็นก็ต้องคํานึงถึงการ
ปฏิบัติรักษาด้วย การให้นํ้าสับปะรดในช่วงที่ติดผลหรือในสภาพไร่ ทําได้ด้วยการใช้นํ้าแบบฝนเทียม พ่นนํ้า
หรือทดนํ้าไปตามร่อง นอกจากนั้นดินปลูกต้องให้อยู่ในสภาพที่มีอินทรียวัตถุมากพอสมควร โดยเฉพาะดิน
ที่ใช้ประโยชน์มานาน จําเป็นต้องปรับปรุงให้ดินอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุอาหารทั้งปุ๋ ยวิทยาศาสตร์ และปุ๋ ย
คอก ปุ๋ ยหมัก ปุ๋ ยเทศบาล อยู่ทุกฤดูกาล พร้อมทั้งใช้ปุ๋ ยโปแตสเซียมเพิ่มขึ้นอีก
3. โรครากปม
ลักษณะอาการ :
เมื่อสับปะรดถูกไส้เดือนฝอยรากปม เข้าทําลายราก จะเห็นลักษณะอาการที่ปรากฏเหนือ
ดิน โดยต้นสับปะรดตั้งแต่ปลูกจนถึงก่อนออกดอกมีอาการชะงักงัน ใบเหลืองซีด การทําลายเกิดขึ้นที่ราก
โดยตัวไส้เดือนฝอยจะไชชอนเข้าไปในรากฝอย แล้วปล่อยนํ้าย่อยออกมา ซึ่งเป็นสารเคมีช่วยให้เกิดการ
แบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อ และบางเซลล์มีขนาดโตขึ้นหลายเท่า และรากตรงบริเวณนั้นบวมโป่ง รากส่วนที่เป็น