Page 105 -
P. 105

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       99


               5. โรคใบจุดสีนํ้าตาล

                        ลักษณะอาการ :

                               แผลสีนํ้าตาลจะเกิดขึ้นตามขอบริมใบหรือบนผืนใบ แต่มักจะอยู่ระหว่างเส้นใบ ในระยะ

               3-4 อาทิตย์นั้น ใบก็ยังเขียวเป็นปกติอยู่เป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อโรคเป็นมากขึ้นก็จะทําให้ใบเปลี่ยนเป็นสี
               เหลืองแล้วร่วงหล่นไป ถ้าหากเชื้อโรคเข้าทําลายเถาหรือลําต้นอย่างรุนแรงโดยเกิดเป็นแผลสีนํ้าตาลอยู่

               ทั่วไปก็จะทําให้ใบเกิดเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นไปได้เช่นกัน โดยทั่วไปแล้วเชื้อราจะเข้าทําลายลําต้นได้ช้า

               กินเวลามาก แผลนอกจากจะเป็นสีดังกล่าวแล้วยังแห้งและแข็ง โรคนี้ยังเกิดเป็นได้ที่ผล ทําให้มีลักษณะ
               อาการเหมือนกับที่เกิดเป็นกับลําต้น แต่ผิวของผลที่เป็นโรคจะมีลักษณะอาการเหี่ยวย่น แล้วผลจะร่วงไป

               ก่อนกําหนด ตามกิ่งแขนงเมื่อเป็นโรคจะเกิดแผลสีนํ้าตาลเข้มและอาจลุกลามไปโดยรอบคล้ายกิ่งถูกขวั้น

               ในที่สุดกิ่งจะแห้งตายลงมาจากปลายยอด โรคนี้จะเกิดเป็นขึ้นมากมายใต้สภาพอากาศค่อนข้างร้อนและมี
               ความชื้นสูง

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Alternaria  passiflorae  ตรงกลางแผลที่แห้งโดยเฉพาะที่ใบมักจะมีสปอร์

               conidia  ของเชื้อรานี้เกิดขึ้นอยู่ ซึ่งจะถูกลมพัดหักปลิวไปหรือถูกนํ้าฝนชะแพร่ระบาดไปได้
                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อพบว่ามีโรคนี้เกิดแพร่ระบาดเข้ามาทําความเสียหาย ก็ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น บีม 40

               กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่วทั้งพุ่ม


               6. โรคเหี่ยว

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราสาเหตุของโรคจะเจริญอยู่ในดินบริเวณโคนต้น โดยเฉพาะดินที่มีความชื้นค่อนข้าง

               สูง เชื้อราดังกล่าวจะเข้าทําลายราก เน่าเปื่อยเป็นสีนํ้าตาลแล้วจะเจริญเข้าไปทําลายท่อนํ้า ท่ออาหาร เป็นสี

               นํ้าตาลบางครั้งจะขึ้นไปถึง 6-7 ฟุต ท่อนํ้าท่ออาหารส่วนมากจะอุดตันเพราะของเหลวจากเซลล์ของเนื้อเยื่อที่
               ถูกทําลาย ซึ่งอยู่โดยรอบนั้นจะไหลเข้าทําให้เกิดการอุดตันขึ้น เมื่อรากถูกทําลายและท่อนํ้าท่ออาหารอุดตัน

               จึงเป็นผลให้นํ้าและแร่ธาตุอาหารไม่ถูกส่งขึ้นไป ใบจึงเกิดมีลักษณะอาการเหี่ยวเฉา เป็นสีเหลืองแล้วร่วง

               หล่นไป ต้นจะชะงักการเจริญเติบโต หากเป็นเพียงเล็กน้อยก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่จะไม่มีการผลิดอกออกผลได้
               อย่างปกติ เมื่อเกิดเป็นโรครุนแรงจะทําให้เหี่ยวเฉาอย่างถาวรและแห้งยืนตายไปทั้งต้น โรคนี้มักจะเกิดเป็น

               มากกับต้นที่มีอายุน้อยไม่เกิน 1 ปี และปลูกในดินที่เป็นกรด

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
                               เกิดจากเชื้อรา  Fusarium  oxysporum  f.sp.passiflorae  เชื้อราจะเกิดสปอร์  conidia  มาก

               ทั้งบนส่วนที่เป็นโรคและในดิน นํ้า จึงเป็นพาหะที่สําคัญและติดไปกับกล้าพันธุ์ไปแพร่ระบาดได้อีกต่อไป
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110