Page 107 -
P. 107
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
101
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อบักเตรี Pseudomonas passiforae เชื้อบักเตรีจะแพร่ไปกับนํ้าและแมลงเป็น
พาหะนําไปสู่ต้นอื่น
การป้องกันและกําจัด :
ตัดส่วนที่เป็นโรคออกไปเผาไฟ แล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น คิวปรัสออกไซด์ ให้ทั่วหรือพ่น
ด้วย อะกริมัยซิม-100 อัตราเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์
9. โรคจุดขุย
ลักษณะอาการ :
ในระยะแรกใบจะเกิดเป็นจุดซึ่งมีขุยหรือผลปกคลุม ลักษณะค่อนข้างกลมเมื่อเป็นใหม่ ๆ
จุดจะใสค่อนข้างโปร่งแสง ขอบแผลสีนํ้าตาล แผลจะขยายใหญ่ถึง 6 มม. แล้วจุดจะเป็นสีเทามีผงฝุ่นหรือขุย
เกิดบนแผลอันเนื่องมากจากสปอร์และเส้นใยของเชื้อราสาเหตุ โรคนี้ยังเกิดเป็นกับกลีบดอกโดยแผลจะบุ๋ม
ลงไปเล็กน้อย ซึ่งลักษณะอาการดังกล่าวนี้ยังเป็นกับ เถา ก้านใบ รยางค์อีกด้วย สําหรับที่ผลจะเกิดเป็นจุด
ขนาดเล็ก กลม สีนํ้าตาลอ่อนตรงกลางแผลบุ๋ม ขนาด 2-3 มม. ขอบริมแผลยกสูงขึ้น ทําให้แผลมีลักษณะ
คล้ายรูปถ้วย พื้นแผลจะแข็งเป็นเกล็ดและปกคลุมด้วยขุยของเชื้อราดังกล่าวข้างต้น แผลเมื่อแห้งก็จะมีรอย
แตกเป็นสะเก็ดอย่างเห็นได้ชัด ถ้าหากโรคอยู่ในภาวะระบาดรุนแรงก็จะทําให้ผลเป็นแผลดังกล่าวอยู่ทั่วผิว
ปลายยอดอ่อนเมื่อเป็นโรคนี้จะลุกลามมีอาการเน่าขวั้นโดยรอบทําให้ส่วนยอดแห้งตายไป
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Cladosporium passiflorae เกิดสปอร์ conidia อยู่ในกลุ่มบนยอด
conidiophores จะปลิวไปกับลมหรือถูกนํ้าฝนชะพัดพาแพร่ระบาดไป
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อพบว่าโรคนี้เริ่มแพร่ระบาดเข้าทําลาย ควรพ่นด้วยสารเคมีเช่น แมนโคเสบ 48 กรัมต่อ
นํ้า 20 ลิตร
10. โรคผลแตกเน่า
ลักษณะอาการ :
จุดสําคัญของโรคนี้คือความเสียหายจะเกิดขึ้นโดยตรงต่อผล โดยเชื้อราสาเหตุของโรคจะ
มีสปอร์เป็นจํานวนมากและปลิวไปตกบนส่วนต่าง ๆ ของพืชนี้ เช่น บนใบก็จะทําให้เป็นแผลเกิดเป็นจุดแต่
ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก นอกจากจะเป็นแหล่งเพาะ เชื้อรามีปริมาณมากยิ่งขึ้น เมื่อสปอร์ไปตกบน
ผลและได้รับความชื้นจากนํ้าค้างก็จะงอกเข้าไชชอนสู่เนื้อเยื่อของผล เกิดเป็นแผลมีลักษณะค่อนข้างกลมสี
นํ้าตาลปนเทาหรือสีเทาเข้ม ส่วนขอบริมแผลจะเป็นสีนํ้าตาล พื้นแผลจะมีตุ่มนูนของเชื้อราเกิดอยู่ภายในผิว