Page 95 -
P. 95

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       89


               เกิดอยู่เป็นประจุก เป็นพุ่มแจ้ หยุดเจริญทางด้านความสูง ไม่ผลิดอกออกผล บริเวณกาบของลําต้นอาจจะ

               แตกปริออกเป็นทางยาว  เชื้อวิสาจะแพร่ไปทั่วทุกต้นที่เกิดจากเหง้าของต้นที่เป็นโรคนี้ ดังนั้น หน่อที่ออกมา
               ใหม่จึงเป็นโรคนี้หมดทุกต้น  ต้นเตี้ยแคระแกร็น  ใบสั้นเกิดอยู่เป็นกระจุกที่ยอด และมีลักษณะอาการอื่น ๆ

               ที่กล่าวข้างต้น จึงเป็นโรคที่ร้ายแรงมาก

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อวิสา  Virus  (BBTV)  ซึ่งมีเพลี้ยอ่อน  Pentalonia  nigronervosa  เป็นพาหะนํา
               เชื้อโรคไปสู่ต้นกล้วยอื่น ๆ แต่โรคจะระบาดเกิดเป็นกับกล้วยอยู่เป็นหย่อม ๆ ซึ่งขึ้นกับการแพร่ระบาดของ

               เพลี้ยอ่อนชนิดนี้เป็นสําคัญ โดยทั่วไปเพลี้ยอ่อนชนิดนี้จะอยู่ตามโคนต้นและในกาบ

                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อปรากฏว่ามีกล้วยเป็นโรคนี้ต้องขุดออกเผาไฟทําลายให้หมด และถ้าพบว่ามีเพลี้ยอ่อน
               แพร่ระบาด ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น โอเมทโทเอท 20 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่วหรือคาร์บาริล 30 กรัมต่อนํ้า

               20 ลิตร


               11. โรคใบด่าง

                        ลักษณะอาการ :

                               ใบจะเกิดเป็นรอยด่าง มีลักษณะเป็นขีดสีเหลือง ขีดสีเหลืองดังกล่าวมีขนาดไม่แน่นอน

               และอาจเกิดเชื่อมต่อเนื่องกัน ทําให้แลเห็นเป็นรอยด่างเป็นทางยาวขนานไปกับเส้นใบ ใบที่เจริญไม่เต็มที่จะ

               เห็นลักษณะอาการได้ชัดเจน สําหรับบนใบแก่จะเกิดลักษณะอาการดังกล่าวมากบนเส้นกลางใบหรือก้าน
               กลางใบ แล้วจะขยายไปสู่ผืนใบและขอบใบและในขณะเดียวกันผืนใบบริเวณนั้นจะแตกออก ในบางโอกาส

               ที่บริเวณสีเหลืองนั้นจะเกิดเป็นวงสีเหลืองเข้มซับซ้อนกันอยู่ตรงกลางอย่างเด่นชัด เมื่อโรคเกิดทวีความ

               รุนแรงจะมีผลให้ใบขาดสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์มากยิ่งขึ้นอันเป็นผลทําให้มีประสิทธิภาพในการปรุงอาหาร
               ที่จะส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ลดลง จึงทําให้ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโต ถ้าเกิดเป็นกับต้นกล้วยที่มีอายุน้อย

               ก็จะเกิดเน่าแห้งเป็นแห่ง ๆ ภายในลําต้นและเป็นโรคนี้มากในฤดูหนาว ส่วนในฤดูฝนจะเกิดโรคนี้น้อย

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
                               เกิดจากเชื้อวิสา  Virus   (CMV)   ซึ่งมีพืชอาศัยเป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่

               เจริญขึ้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีเพลี้ยอ่อน  Aphis  gossypii  เป็นพาหะที่สําคัญนํ้าเชื้อโรคไป

               แพร่ระบาดอีกด้วย

                        การป้องกันและกําจัด :
                               ควรทําการกําจัดวัชพืชในแปลงปลูกกล้วยออกให้หมด เพื่อไม่ให้เป็นพืชอาศัยของเชื้อ

               วิสา เมื่อพบว่ามีเพลี้ยอ่อนเข้ามาแพร่ระบาดก็ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น โอเมทโธเอท 20 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร

               หรือ คาร์บารีล 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100