Page 144 -
P. 144

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      138


                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Phyllosticta  polypseudiospora  (Guignardia  annonae)  สปอร์ของเชื้อรา
               จะถูกนํ้าฝนชะพัดพาแพร่ระบาดไป

                        การป้องกันและกําจัด :

                                พ่นให้ทั่วด้วยสารเคมี  เช่น  แคปแทน 30 กรัมต่อนํ้า  20  ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม 15

               กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร และเก็บใบที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทําลายเสีย


               14. โรครากเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               บนผิวของรากจะมีเส้นใยของเชื้อราสาเหตุของโรค เกิดเจริญขึ้นปกคลุมอยู่เป็นเส้นคล้าย

               รากไม้หรือเส้นด้ายสีขาวปนสีนํ้าตาล บางครั้งจะมีลักษณะเกิดเป็นขุยขรุขระเปลือกของรากจะเน่าเป็นสี
               นํ้าตาลเข้ม ระหว่างเปลือกและเนื้อไม้ของรากมักจะมีเส้นใยของเชื้อราเกิดขึ้นอยู่ด้วยเช่นกัน โรคจะลุกลาม

               เป็นไปทั่วรากที่อยู่ระดับผิวดิน โดยรอบต้นทําให้รากเกิดเน่าหมด บางครั้งจะพบว่าต้นน้อยหน่าจะมีใบเหี่ยว

               เฉาเกิดขึ้นแล้วยืนต้นตายไป แต่ถ้าเป็นโรคน้อยก็จะทําให้ชะงักการเจริญเติบโต ดอกที่ผลิออกมาก็จะร่วง

               หล่นไป ฉะนั้น โรคนี้จึงเป็นโรคที่ร้ายแรงมาก เพราะระบบรากไม่สามารถทํางานดูดนํ้าและแร่ธาตุขึ้นไปได้
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Rosellinia  necatrix  สามารถเกิดสปอร์ใน  perithecium และจะแพร่ไปกับ

               นํ้าได้ นอกจากนั้นส่วนของเส้นใยอาจจะขาดหลุดไปงอกเจริญแพร่ระบาดได้อีกเช่นกัน
                        การป้องกันและกําจัด :

                               ถากส่วนที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทําลายแล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น วาลิดามัยซิน 60 ซีซี ต่อ

               นํ้า 20 ลิตร ตามแผลหรือบริเวณที่เป็นโรคให้ทั่ว
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149