Page 149 -
P. 149
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
143
3. โรคใบร่วง
ลักษณะอาการ :
โดยมากเชื้อราจะงอกเข้าทําลายใบที่เจริญเต็มที่ แล้วเกิดเป็นแผลสีนํ้าตาลหรือสีนํ้าตาล
ปนดํา ขอบแผลมักจะเกิดเป็นวงซ้อนกันและล้อมรอบแผลด้วยสีเหลืองหรือสีนํ้าตาลปนเหลืองใส ค่อนข้าง
โปร่งแสง ขนาดของแผลประมาณ 3-9 ซม. ลักษณะแผลค่อนข้างยาวและพื้นแผลแห้ง บางครั้งจะพบว่าใบ
แห้งไปครึ่งใบ บนพื้นแผลจะมีตุ่มนูนสีนํ้าตาลเข้มอยู่ทั่วไปและภายในตุ่มนูนเป็นที่เกิดของสปอร์เป็น
จํานวนมาก โรคนี้นอกจากจะเกิดเป็นกับผืนใบแล้วเชื้อราสาเหตุของโรคยังเข้าทําลายก้านใบทําให้เกิด เน่า
ชํ้าเป็นสีนํ้าตาลดํา อันเป็นเหตุให้ใบที่เป็นโรคต้องร่วงหล่นไป ถ้าเป็นมากจะเหลือแต่กิ่งก้าน ลําต้นชะงัก
การเจริญเติบโต
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Septoria sapotae สปอร์จะแพร่ไปกับนํ้าฝน หรือถูกลมพัดพาไปเข้า
ทําลายพืชต้นอื่นๆ ต่อไปอีก
การป้องกันและกําจัด :
พ่นด้วยสารเคมี เช่น คาร์เบนดาซิม 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร และเก็บใบที่ร่วงหล่นออกเผา
ไฟทําลายเสียให้หมด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่อไปอีก
4. โรคกิ่งแห้ง
ลักษณะอาการ :
บนผิวของกิ่งหรือลําต้นที่แตกแยกเจริญออกจากต้น ซึ่งถูกปกคลุมด้วยใบและทรงพุ่มที่
หนาทึบจะเกิดมีเชื้อราเกาะเจริญอยู่เป็นแถบหรือเป็นทาง สีขาวปนเทา เชื้อราดังกล่าวที่เกิดนี้จะมีความหนา
ถึง 1 มม. บนผิวของเชื้อรานั้นมักจะเป็นขุยขรุขระเล็กน้อย เพราะขุยดังกล่าวเป็นกลุ่มของเชื้อราที่ประกอบ
ไปด้วยสปอร์ แต่ในส่วนด้วนใต้ของเชื้อราจะมีลักษณะคล้ายรากเทียมที่เจริญออกไปไชชอนเข้าไปใน
เนื้อเยื่อผิวเปลือกของกิ่งและลําต้นส่วนนั้น ทําให้เกิดอาการเน่าผุ ยุ่ย และยังเข้าไปทําลายถึงเนื้อเยื่อด้านใน
เน่าเป็นสีนํ้าตาล ในที่สุดแห้งตายไป แต่ถ้าเป็นมากก็จะทําให้กิ่งเน่าตายไปทั้งกิ่ง
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Septobasidium sapotae สปอร์ที่เกิดอยู่บนขุยดังกล่าวจะถูกนํ้าฝนชะแพร่
ระบาดไป และลมก็เป็นพาหะสําคัญเช่นกัน
การป้องกันและกําจัด :
ขูดส่วนที่เป็นโรคออกและตัดกิ่งที่แห้งไปเผาไปทําลายเสีย แล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอป
เปอร์ออกซีคลอไรด์ 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร