Page 154 -
P. 154

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      148




                        การป้องกันและกําจัด :
                               โรคราแป้งเป็นโรคที่ระบาดได้รวดเร็ว เมื่อพบว่าพืชเริ่มเป็นโรคนี้ก็ควรพ่นด้วยสารเคมี

               เบโนมิล 8 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร  ไดโนแคป 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือโฟลเพท 25 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


               2. โรคใบจุด


                        ลักษณะอาการ :
                               อาการเกิดที่ใบอ่อนจนกระทั่งถึงใบที่เจริญเต็มที่แล้ว  เกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลคลํ้าบนใบ หรือ

               เกิดไหม้ที่ปลายใบแต่มีสีนํ้าตาลคลํ้า และขยายไปทั่วให้ใบแห้ง  ซึ่งเรียกว่าใบไหม้เป็นรุนแรงทําให้ใบร่วง

               ใบที่อยู่ใกล้ระดับผิวดินเป็นโรคนี้ได้รุนแรง  นอกจากทําลายใบแล้วยังทําลายผล ทําให้ผลเน่าเป็นสีนํ้าตาล

               เข้มและร่วงหล่นเป็นส่วนมาก อันทําให้ผลผลิตลดลงเป็นจํานวนมาก
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora   parasitica   พบโรคระบาดในฤดูฝน เดือนมิถุนายน ถึง

               พฤศจิกายนโดยเชื้อราจะสร้างสปอร์  โดยเฉพาะนํ้าฝนในช่วงฤดูฝน จะช่วยแพร่ระบาดโดยสปอร์ของเชื้อรา

               ถูกนํ้าชะไปและข้าทําลายต่อไป
                        การป้องกันและกําจัด :

                               ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดควรตัดแต่งกิ่งเล็ก ๆ ที่เรี่ยดิน และที่ไม่ต้องการออก เพื่อลด

               การเกิดโรค  เพราะโดยทั่วไปแล้วเชื้อราจะอยู่ในดิน การตัดแต่งจะช่วยให้ใบและกิ่งบริเวณโคนต้นโปร่ง
               เมื่อพบว่าต้นใดเป็นโรคก็ควรตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคทิ้ง แล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมทาแลกซิล 20 กรัมต่อนํ้า

               20 ลิตร หรือ ฟอเซตธิล อะลูมินั่ม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


               3. โรคแอนแทรคโนส


                        ลักษณะอาการ :
                               ผลอ่อนขนาดเท่าหัวไม้ขีดหรือเข็มหมุด เมื่อเป็นโรคจะเน่าเป็นสีนํ้าตาลดําและร่วงไป ผล

               อ่อนที่มีขนาดใหญ่และผลใกล้สุกจนกระทั่งสุกก็จะเป็นโรคได้ง่ายเช่นกัน อาการเกิดจุดแผลบนผล มี

               ลักษณะค่อนข้างกลมสีนํ้าตาล  ในขณะที่มีความชุ่มชื้นสูง จุดแผลจะเกิดเป็นวงจุดซ้อนเรียงกัน  บางครั้ง
               เหมือนก้นหอย วนไปเป็นวงกลม ตรงกลางแผลจะมีบุ๋มสีนํ้าตาลเข้ม  ขอบนอกสีแดง นอกจากนี้ผลจะเน่า

               บนต้นแล้ว ยังเน่าภายหลังการเก็บเกี่ยวอีกด้วย

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                                             สาเหตุเกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum  gloeosporioides  (Glomerella  cingulata)  ซึ่งมี
               สปอร์เป็นตัวแพร่เชื้อโรค โดยอาศัยลมและหยดนํ้าฝนเป็นพาหะ แผลที่เป็นโรคในขั้นที่เกิดเป็นกลุ่มของ
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159