Page 156 -
P. 156
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
150
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. jujubae บนแผลที่เป็นโรคของผล จะมีสปอร์
ของเชื้อรานี้เกิดขึ้น พร้อมทั้งเส้นใหญ่สีขาวนวลอยู่เป็นจํานวนมาก สปอร์ของเชื้อราดังกล่าว จะปลิวแพร่
ระบาดไปทั่ว ทําให้ผลอื่น ๆ เกิดเป็นโรคได้อีก
การป้องกันและกําจัด :
ควรทําความสะอาดผลของพุทราด้วยนํ้าผสมด้วยสารเคมี เช่น บอแรกซ์ 3 เปอร์เซ็นต์
แล้วผึ่งให้แห้งและเก็บไว้ในภาชนะหรือโรงเรือนที่สะอาดไม่อับชื้น
6. โรคราสีชมพู
ลักษณะอาการ :
กิ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 ซม. จะมีสีขาวของเชื้อราจับตามผิวเปลือกของกิ่งคล้าย ๆ
ทาด้วยสีขาวหรือสีขาวปนชมพู เชื้อราจะเข้าทําลายเปลือกให้เน่า เมื่อเอามือขยี้เปลือกจะเปื่อยยุ่ย คลาบสี
ขาวนี้จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ๆ คล้ายทาด้วยสี สีดังกล่าวคือเชื้อราสาเหตุของโรค กิ่งที่ถูกเชื้อราทําลาย
นอกจากเปลือกจะเน่าผุแล้วเนื้อไม้ยังเน่าเป็นสีเหลืองอันเป็นผลให้ใบจะเหี่ยวเหลืองทั้งใบและกิ่งแห้งตายลง
มา ชะงักการเจริญเติบโต เมื่อมีโรคแพร่ระบาดมากก็จะปรากฏว่ามีกิ่งแห้งตายเป็นจํานวนมากยิ่งขึ้น
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Corticium salmonicolor ระบาดในฤดูฝนโดยนํ้าฝนและลมเป็นตัวช่วยให้
สปอร์เกิดการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะกิ่งง่าม จะเกิดเป็นโรคได้มากขึ้น
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อปรากฏอาการดังกล่าวจะต้องตัดส่วนที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทําลายเสียบ้างแล้วพ่น
ด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ เอดิเฟนฟอส 30 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร
ให้ทั่วพุ่ม โดยเฉพาะตามบริเวณผิวของกิ่งดังกล่าว
7. โรคราดํา
ลักษณะอาการ :
เป็นผลของแมลงปากดูด พวกเพลี้ย หอย เพลี้ยแป้ง ดูดทําลายส่วนอ่อนของพุทรา เช่น ใบ
อ่อน กิ่งอ่อน ดอก ผลอ่อน แมลงดังกล่าวเมื่อทําลายพืชแล้วจะถ่ายนํ้าหวานออกมาอยู่บนใบ กิ่ง ผล
หลังจากนั้นเชื้อราดําจะขึ้นปกคลุมนํ้าหวานทําให้มีลักษณะเป็นคราบสีดําเหมือนเขม่า เมื่อเอามือถูคราบดํา
นั้นก็จะหลุดได้ง่าย โดยปกติราดํามีอยู่ทั่วไปในอากาศแล้วปลิวมาเจริญขึ้นบนส่วนที่มีนํ้าหวานและขยายขึ้น
ปกคลุม แต่ไม่ได้ทําลายพืชโดยตรงเหมือนแมลงปากดูดดังกล่าว