Page 153 -
P. 153
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
147
17
พุทรา
พุทรา (Zizphus jujube) โดยทั่วไปแล้วชาวบ้านนิยมบริโภคกันทั่วประเทศ เพราะจะเห็นได้ว่าไป
แถวไหนก็มีพุทราที่ขึ้นเอง ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นบ้านมีรสชาติขม ต่อมาได้มีชาวไทยบางคนได้พบเห็นพันธุ์ที่มี
ขนาดใหญ่ ก็นํามาขยายพันธุ์และแจกจ่ายกันไป จึงทําให้พันธุ์ผลใหญ่มีการปลูกไปทั่วทุกภาคของประเทศ
ไทย เป็นพืชเศรษฐกิจระดับชาวบ้าน โดยมากมักจะพบเห็นขึ้นมาเองเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถ้าเราไปเที่ยว
แถว ๆ ตัวเมืองของอยุธยาจะพบว่ามีพุทราขึ้นมากมาย และชาวบ้านท้องถิ่นก็จะเก็บผลของพุทรามาแปรรูป
ขายนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นผลพุทรากวนหรือแปรรูปเป็นชนิดต่าง ๆ เป็นที่นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง
จนทําให้พุทราเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัดอยุธยาไปแล้วที่นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน และ
เครื่องประดิษฐ์อื่น ๆ
พุทราปกติจะปลูกไว้ตามลานบ้านหรือหัวไร่ปลายนา แต่ในปัจจุบันปลูกเป็นสวน ยกร่อง ปลูก
มากในหลายจังหวัด เช่น สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม และราชบุรี พันธุ์ปลูกที่นิยม
กันมีพันธุ์เจดีย์สีทอง เจดีย์สีเขียว สงวนทอง เหรียญทอง และบอมเบย์ เนื่องจากพุทราขึ้นได้ดีในที่ลุ่มและ
ที่ดอน การทําสวนจึงเป็นแบบยกร่องหรือปลูกบนพื้นราบ โดยเฉพาะพื้นที่มีนํ้ากร่อยขึ้นถึงเป็นครั้งคราว
จําเป็นต้องยกร่อง สําหรับปัญหาในการทําสวนพุทรามีโรคเข้าทําลายดังนี้
1. โรคราแป้ง
ลักษณะอาการ :
ลักษณะอาการของโรคปรากฏว่ามีเชื้อราเกิดขึ้นปกคลุมส่วนของใบเป็นผงสีขาว ๆ คล้าย
โรยด้วยแป้ง โดยเฉพาะบนผิวใบอ่อน ส่วนดอกและผลอ่อนเมื่อเป็นรุนแรงทําให้ส่วนดังกล่าวร่วง ผลถ้า
เป็นโรคในระยะผลโตกว่าหัวไม้ขีดเล็กน้อยผลอาจไม่ร่วงหล่น ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นปกติ แต่ผิวกร้านไม่
น่ารับประทานเพราะเป็นกระสีนํ้าตาลอยู่ทั่วไปบนผล อย่างไรก็ตามโรคนี้จะระบาดเป็นมากเมื่ออุณหภูมิ
และความชื้นพอเหมาะจะทําให้เกิดเป็นโรคนี้หมดทั้งต้น ใบจะร่วงหล่นมากเหลือแต่กิ่งก้านเท่านั้น
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Oidium jujubae โดยเชื้อราจะเข้าทําลายและเจริญขึ้นตามผิวใบดอก ผล
และจะเกิดขุยขาว ๆ มีลักษณะคล้ายผงแป้ง ซึ่งเป็นเส้นใยและสปอร์ของเชื้อรา สปอร์จะแพร่ระบาดโดย
ปลิวไปตามลมและเกิดเป็นโรคราแป้งกับต้นอื่น ๆ ได้อีกเช่นเดียวกัน