Page 148 -
P. 148

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      142


               1. โรคผลเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               เนื่องจากละมุดเป็นไม้ผลพุ่มเตี้ยและมีผลดกตั้งแต่ส่วนล่าง ๆ ของพุ่มที่อยู่ใกล้ระดับผิว

               ดินขึ้นไป  เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคจะเจริญอยู่ในดินภายใต้บริเวณพุ่มนั้น  เมื่อฝนตกก็จะชะเอาเชื้อราขึ้น
               ไปติดอยู่ที่ผลและงอกเข้าทําลายเกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลดํา  แผลจะขยายมีขนาดใหญ่ซํ้า สีนํ้าตาลเข้มขอบริม

               แผลสีดํา และจะลุกลามเข้าไปยังเนื้อเยื่อภายในของผล ทําให้เกิดลักษณะอาการเน่าดังกล่าว  ซึ่งอาจจะเกิด

               เน่าเป็นเพียงบางส่วนหรือเน่าหมดทั้งผล  ผลที่แก่ใกล้สุกมักจะได้รับความเสียหายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
               ผลที่เกิดอยู่ใต้พุ่มซึ่งใกล้กับผิวดินจะเป็นโรคนี้มาก  บางครั้งผลอาจร่วงหล่นลงสู่พื้นดินแล้วแห้งเป็นสีดํา จึง

               นับได้ว่าเป็นโรคที่สําคัญมาก

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Phytopthora  palmivora   นํ้าฝนเป็นพาหะที่สําคัญของการแพร่ระบาด
               อย่างไรก็ตามสปอร์ของเชื้อราอาจติดไปกับขาของแมลง  หรือปลิวไปกับลมได้

                        การป้องกันและกําจัด :

                               พ่นด้วยสารเคมี เช่น เมทาแลกซิล หรือ เบนาแลกซิล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร และเก็บผลที่
               เป็นโรคออกเผาไฟทําลายเสีย



               2. โรคผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยว

                        ลักษณะอาการ :
                               ผลละมุดที่แก่เต็มที่แล้วจะถูกเก็บไว้ในเรือนโรงก่อนที่จะถูกนําออกไปจําหน่ายในขณะที่

               ยังเก็บอยู่นี้มักจะถูกเชื้อราเข้าทําลายผลให้เกิดเน่าเสียหายอยู่เสมอ โดยสปอร์ของเชื้อราจะปลิวมาตกบนผล

               แล้วงอกเข้าทําลายเกิดเป็นแผลเน่า  แผลจะเกิดเป็นสีนํ้าตาลคลํ้า  ผิวของแผลจะแห้ง และมีตุ่มนูนสีดํา ขนาด
               เท่าหัวเข็มหมุดฝังอยู่บนแผลนั้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป  ซึ่งภายในตุ่มนูนจะมีสปอร์เป็นจํานวนมาก แล้ว

               สปอร์จะปลิวแพร่ระบาดเข้าทําลายผลอื่น ๆ ได้มากและรวดเร็ว  ดังนั้นจะเห็นว่าผลละมุดที่เก็บอยู่เกิดเป็น

               โรคเน่าเสียหายเป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะถ้าเก็บผลไว้ในโรงเรือนหรือภาชนะที่อับชื้น มีการถ่ายเทอากาศ

               ไม่ดีพอ
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Botryodiplodia  theobromae  สปอร์จะแพร่ระบาดปลิวไปกับลมงอกเข้า

               ทําลายผลอื่น ๆ ฉะนั้นเมื่อมีโรคนี้เกิดขึ้นแล้วมักจะแพร่ระบาดได้รวดเร็วในโรงเรือนที่เก็บอยู่
                        การป้องกันและกําจัด :

                               หลังจากที่ได้เก็บผลลงมาจากต้นแล้ว  ต้องรีบพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า

               20 ลิตร แล้วผึ่งให้แห้งและเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียสก่อนส่งจําหน่าย
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153