Page 150 -
P. 150

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      144


               5. โรคมัมมี่

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราจะเข้าทําลายตามกิ่ง  เกิดเป็นแผลแห้งสีดําอยู่เป็นแห่ง ๆ เมื่อถึงช่วงระยะที่จะ

               เกิดผล  เชื้อราก็จะเข้าทําลายผลที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรือตั้งแต่ผลยังอยู่ในระยะผลอ่อน เกิดเป็นจุดสีดํา
               และลุกลามเป็นจนหมดผล  ผลที่เป็นโรคนี้จะค่อย ๆ แห้งไปมีลักษณะแข็งเป็นสีดําผิวของผลที่เป็นโรคนี้

               แล้วจะขรุขระ  อาจจะยังติดอยู่บนต้นเป็นระยะเวลานานหรืออาจจะร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน ถ้าโรคเกิดแพร่

               ระบาดมากจะทําให้ผลของละมุดเกิดเป็นโรคนี้เป็นจํานวนมาก  ซึ่งส่วนหนึ่งจะร่วงหล่นแลเห็นเกลื่อนไป
               หมด  เป็นโรคที่ทําลายผลผลิตโดยตรง  ในบางสวนเสียหายมาก

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Pestalotia  sapotae  สปอร์ของเชื้อราสาเหตุเมื่อแก่เต็มที่จะหักปลิวไปกับ

               ลม แพร่ระบาดเข้าทําลายต่อไป
                        การป้องกันและกําจัด :

                               เก็บผลที่เป็นโรคออกไปเผาไฟแล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น เอดิเฟนฟอส 20 ซีซีต่อนํ้า 20

               ลิตร ให้ทั่วทั้งต้น


               6. โรคราสนิม

                        ลักษณะอาการ :

                               โรครัส หรือราสนิมนี้ จะเกิดเป็นที่ผิวใบด้านบน และมักจะเกิดในช่วงฤดูหนาวหรือปลาย

               ฤดูหนาว  เกิดเป็นตุ่มนูนสีนํ้าตาลเข้มเมื่อเชื้อราแก่จะดันผิวของใบแตกออกเกิดเป็นแผล มีกลุ่มสปอร์ของ
               เชื้อราสีนํ้าตาลออกมาจุกอยู่ที่ปากแผล  แล้วถูกลมพัดปลิวกระจายไปทั่วโดยรอบของแผลเหล่านั้น โรคนี้ถ้า

               เกิดเป็นมากจะเกิดแผลอยู่ทั่วไปบนผิวใบ  ด้านบนนั้น ผิวใบอาจแห้งตายไปเป็นแห่ง ๆ ซึ่งใบที่เป็นโรคอาจ

               ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน ทําให้เกิดการชะงักการเจริญเติบโตผลิดอกออกผลน้อย

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
                               เกิดจากเชื้อรา  Uredo  sapotae  สปอร์จะฟุ้งกระจายแพร่ระบาดไปกับลมและเมื่อได้รับ

               นํ้าค้างก็จะงอกเข้าทําลายอีก

                        การป้องกันและกําจัด :
                               พ่นด้วยสารเคมี เช่น ไทรอะไดเมฟอน 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่วและเก็บใบที่ร่วงหล่น

               ออกไปเผาไฟเสีย
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155