Page 143 -
P. 143
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
137
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Cercospora anacardii มีสปอร์เกิดอยู่บนพื้นแผลและถูกลมพัดพาไป
แพร่ระบาดสู่ใบอื่น ๆ ได้อีก
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อพบว่ามีโรคนี้เริ่มระบาดควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น ออกซีคาร์บอกซิน 30 ซีซีต่อนํ้า 20
ลิตร แล้วตัดกิ่งและเก็บใบที่ร่วงหล่นออกไปเผาไฟทําลายเสียให้หมด
12. โรคใบจุดสีเหลือง
ลักษณะอาการ :
ในระยะแรกใบจะเกิดเป็นจุดสีเหลือง มีขนาดเท่าหัวเข็มหมุดกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบน
ผิวใบด้านบน เมื่อมีความชื้นสูงหรือฝนตกชุก แผลจะขยายมีขนาดใหญ่ขึ้นมีรูปร่างและขนาดไม่แน่นอน
แผลยังคงมีสีเหลืองแต่ตรงกลาง แผลจะแห้งเป็นสีนํ้าตาลลักษณะอาการของโรคนี้ยังเกิดเป็นบนผืนใบ
ด้านล่างอีกด้วย โรคนี้เมื่อระบาดเป็นมากจะมีผลทําให้ใบร่วงหล่นลงสู่พื้นดินไปเหลือแต่กิ่งก้าน ปลายกิ่ง
จะแห้งตายไป ต้นจะชักงักการเจริญเติบโต ผลิดอกออกผลน้อย สําหรับบนพื้นแผลจะแลเห็นกลุ่มของเชื้อ
ราสีดํา เกิดขึ้นเป็นแห่ง ๆ อยู่ทั่วไป
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Cladosporium annonae สปอร์ของเชื้อราสาเหตุที่เกิดอยู่บนแผลเมื่อแก่ก็
จะหลุดปลิวไปกับลมแล้วแพร่ระบาดอีกต่อไป
การป้องกันและกําจัด :
ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคและเก็บใบที่ร่วงหล่นออกไปเผาไฟแล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น แมนโค
เสบ 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
13. โรคใบจุดสีนํ้าตาล
ลักษณะอาการ :
ใบเกิดเป็นจุดสีเหลืองขนาดเท่าหัวเข็มหมุด แล้วขยายออกไปเป็นแผลที่มีขนาดใหญ่
รูปร่างและขนาดไม่แน่นอน แผลจะแห้งเป็นสีนํ้าตาลบนพื้นแผลจะมีตุ่มนูนของเชื้อรา ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด
เกิดฝังอยู่ในเนื้อเยื่อของแผลบนใบนั้น ตุ่มนูนดังกล่าวจะมีสีเหมือนผิวของแผลคือ เป็นสีนํ้าตาล ภายในของ
ตุ่มนูนเหล่านั้นมีสปอร์อยู่ภายในเป็นจํานวนมาก เมื่อตุ่มนูนดังกล่าวแก่ อาจดันผนังของผิวตรงส่วนนั้นแตก
ออกเกิดมีลักษณะเป็นขุยอยู่ทั่วไป โรคนี้ถ้าเป็นมากจะทําให้ผืนใบส่วนใหญ่แห้งตายไป