Page 141 -
P. 141
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
135
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Ascochyta annonae เมื่อสปอร์แก่ก็จะแตกและหลุดออกมา สปอร์จะ
ปลิวไปกับลมหรือถูกนํ้าชะพัดพาไปแพร่ระบาดเข้าทําลายได้อีกต่อไป
การป้องกันและกําจัด :
พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่วในขณะที่โรคเริ่มแพร่ระบาด
ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกเผาไฟเสีย
8. โรคแอนแทรคโนส
ลักษณะอาการ :
เกิดแผลรูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปไข่บนผิวใบด้านบนสีนํ้าตาลดํา ลักษณะของแผลจะ
เกิดเป็นวงซ้อนกัน และมีตุ่มนูนของเชื้อราสีดําเกิดฝังอยู่บนพื้นแผลนั้น และมักจะเรียงต่อเนื่องกันไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะขนานไปกับขอบวงของแผล เชื้อรายังเข้าทําลายกิ่งหรือยอดอ่อนได้อีกด้วย โดยเกิด
เป็นแผลรูปไข่และบุ๋มลึกลงไปเล็กน้อย แผลจะแห้ง สีนํ้าตาลดํา นอกจากนี้ยังเกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลดําบนผล
และผลก็จะเกิดเน่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลที่แก่หรือเจริญเต็มที่แล้วจะเกิดเน่าเป็นจํานวนมาก จึงเป็นผล
เสียหายต่อผลผลิตโดยตรง โรคจะเกิดต่อเนื่องไปจนระยะหลังการเก็บเกี่ยว
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ลมและนํ้าเป็นพาหะที่สําคัญในการแพร่
ระบาด
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อโรคเริ่มมีระบาด หลังการเก็บเกี่ยวทันทีควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น คาร์เบนดาซิม 15
กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือเบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
9. โรคราสีชมพู
ลักษณะอาการ :
ตามกิ่งและง่ามกิ่งหรือลําต้นจะมีสีชมพูฉาบบาง ๆ ติดอยู่ที่ผิว คล้ายส่วนนั้นถูกทาด้วยสี
แต่ความจริงแล้วเป็นเชื้อราสาเหตุของโรคเจริญปกคลุม ซึ่งข้างใต้สีที่ฉาบอยู่นั้นจะมีรากเทียมของเชื้อราเกิด
ไชชอนเข้าไปในเนื้อไม้ ทําให้เกิดเน่าผุเป็นสีนํ้าตาลเทา เมื่อโรครุนแรงจะเป็นโรคโดยรอบกิ่ง กิ่งจะแห้ง
ตายซึ่งในระยะแรกใบจะเหี่ยวแล้วหล่นไป จะเหลือแต่กิ่งแห้ง ต้นจะชะงักการเจริญเติบโต มีผลผลิตน้อย
หรือผลผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด ถ้าหากเป็นโรคมากจะเกิดกิ่งแห้งไปหมดทั้งต้น