Page 142 -
P. 142

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      136


                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Corticium  salmonicolor  เกิดสปอร์แพร่ระบาดไปกับนํ้าฝนหรือปลิวไป
               กับลมไปสู่ส่วนอื่น ๆ หรือต้นอื่นได้

                        การป้องกันและกําจัด :

                               ตัดกิ่งที่เป็นโรคออกไปเผาไฟแล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัม

               ต่อนํ้า 20 ลิตร


               10. โรคกิ่งแห้ง

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราจะเข้าทําลายตามกิ่งเกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลดําแล้วขยายเป็นแผลใหญ่ และลุกลามไป

               รอบกิ่งบน แผลจะมีตุ่มนูนสีนํ้าตาลดํา ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด เกิดกระจัดกระจายอยู่ทั่วแผล ใบจะร่วงและ
               กิ่งส่วนบนของส่วนที่เป็นโรคจะแห้งตาย โรคจะลุกลามเป็นมากขึ้น ทําให้กิ่งแห้งตายลงมามากขึ้น ถ้าอากาศ

               แห้งแล้งก็จะมีผลทําให้ต้นยืนตายไป ส่วนต้นที่เกิดโรคน้อยก็ยังมีกิ่งที่พอจะผลิดอกออกผลได้บ้างทําให้

               ผลผลิตลดลงมาก นอกจากนั้นยังเกิดเป็นโรคกับผลเน่าและแห้งเป็นสีนํ้าตาลดําร่วงหล่นลงสู่พื้นดินอีก

               ฉะนั้นโรคนี้จึงเป็นโรคที่สําคัญอีกโรคหนึ่ง
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Diplodia  natalensis  และ  Phoma  annonae  ลมและนํ้าฝนเป็นพาหะที่

               สําคัญในการแพร่ระบาด
                        การป้องกันและกําจัด :

                               ตัดกิ่งที่เป็นโรคและผลที่เน่าออกไปเผาไฟเสียแล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น พีซีเอนบี 40 กรัม

               ต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


               11. โรคใบจุดสีแดงเข้ม

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราเข้าทําลายใบเกิดเป็นจุด สีแดงคลํ้าหรือสีแดงเข้มขนาดประมาณ 1-4 มม. รูปร่าง

               ค่อนข้างกลมและบางแผลมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม ขนาดประมาณ 0.5-1.5 มม. ขอบแผลเป็นสีดํา และสีเหลือง
               เกิดอยู่บนผิวใบด้านบน เมื่ออุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมจะเกิดแผลอยู่ทั่วไปบนใบส่วนก้านใบก็จะเกิด

               เป็นโรคเช่นกัน โดยเกิดเน่าเป็นสีดําหรือสีนํ้าตาลไหม้ ใบอาจเกิดเป็นสีเหลืองและมีสีดําเกิดสลับกันใน

               บางส่วน ในที่สุดใบจะร่วงหล่นไปเหลือแต่กิ่งก้าน อันเป็นผลให้ชะงักการเจริญเติบโต ส่วนมากปลายกิ่งจะ

               แห้งตายไปในระยะต่อมา
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147