Page 139 -
P. 139
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
133
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Phomopsis anonacearum นํ้าและลมจะนําสปอร์ซึ่งอยู่ในตุ่มนูน
pycnidium สีดํา ดังกล่าวไปแพร่ระบาด ไปเข้าทําลายได้อีก
การป้องกันและกําจัด :
พ่นด้วยสารเคมี เช่น แคปแทน 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่วในระยะติดผล หรือใช้เบโน
มิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร พ่นแทนก็ได้
4. โรคผลร่วง
ลักษณะอาการ :
โดยทั่วไปผลจะเริ่มติดในช่วงต้นหรือกลางฤดูฝน ซึ่งเป็นระยะที่กําลังมีความชุ่มชื้นสูง
เป็นระยะที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของเชื้อสาเหตุของโรคมาก เชื้อราจะปลิวไปตกบนแผลอ่อน แล้ว
งอกเข้าทําลายผลที่อยู่ใกล้ระดับผิวจะเป็นโรคนี้มาก โดยผลเกิดเป็นแผลชํ้า สีม่วง แล้วขยายการทําลายเน่า
ไปหมดทั้งผลอย่างรวดเร็ว เนื้อเยื่อภายในของผลจะอ่อนนุ่มเป็นสีนํ้าตาลและเกิดเป็นโรคกับผลจนถึงระยะ
เก็บเกี่ยว การเป็นโรคของผลจะเกิดเป็นแผลเน่า ทําให้ร่วงหล่นไปก่อนกําหนด ถ้าผลที่ยังอ่อนก็แห้งเป็นสีดํา
ทั้งหมด
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Phytophothora palmivora ส่วนใหญ่เชื้อราจะอยู่ในดินบริเวณโคนต้น
แล้วนํ้าฝนจะชะเชื้อราลอยขึ้นไปเข้าทําลาย นอกจากนี้ลมยังเป็นส่วนหนึ่งของการแพร่ระบาดเช่นเดียวกับ
แมลงเป็นพาหะนําสปอร์เชื้อราไปสู่ต้นอื่นได้
การป้องกันและกําจัด :
พ่นด้วยสารเคมี เช่น เมทาแลกซิล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือฟอเซทธิล เอแอล 80 กรัม
ต่อนํ้า 20 ลิตร
5. โรคมัมมี่
ลักษณะอาการ :
โรคมัมมี่ ก็คือผลจะเน่าแห้ง แข็งเป็นสีดําทั้งผล ซึ่งรูปร่างของผลก็ยังเหมือนปกติและ
ส่วนใหญ่ก็ยังติดกับขั้วอยู่บนต้น จะหล่นลงสู่พื้นดินก็มีบ้างแต่เป็นส่วนน้อย ในระยะแรกของการเกิดโรค
คือเกิดเป็นจุดสีม่วงดําแล้วขยายการทําลายมากขึ้น แผลแห้ง และแข็ง แตกออกตามร่องของผลอย่างเห็นได้
ชัด ในระยะนี้เปลือกจะมีลักษณะหยุ่นเหมือนไม้คอร์ก เนื้อเยื่อภายในของผลจะเน่าเป็นสีนํ้าตาล แต่ไม่เละ
จะหยุ่นเหมือนที่เปลือกดังกล่าว บนเปลือกของผลที่เป็นโรคจะมีตุ่มนูนสีนํ้าตาลดํา ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด
ของเชื้อราเกิดอยู่ทั่วไป ซึ่งภายในเป็นที่เกิดของสปอร์