Page 135 -
P. 135

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      129


                        การป้องกันและกําจัด :

                               ใช้สารเคมีคลุกเคล้าลงไปในดิน เช่น คาร์โบฟูแรน   รักบี้  ไวเดท หรือโมแคบ 15 กรัมต่อ
               หลุมก่อนปลูก 1 อาทิตย์ แต่ถ้าพบว่ามีโรคนี้เกิดขึ้นภายหลังปลูก ก็จําเป็นต้องใช้สารเคมีดังกล่าวอีก เพื่อ

               ทําลายไส้เดือนฝอยให้หมดไป



               8. โรคแอนแทรคโนส

                              ลักษณะอาการ:

                                             แสดงอาการเริ่มเป็นแผลเล็ก ๆ บนไหล  มีสีม่วงแดงและจะลุกลามไปตามความยาวของ

               ไหล  แผลก็จะขยายยาวและเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล  ทําให้ไหลมีลักษณะคอดตรงบริเวณแผล  เมื่อนําไหลไป
               ปลูกก็สามารถเจริญเติบโตได้  เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม กับการเจริญของเชื้อคืออากาศร้อนชื้น ใบจะ

               เหี่ยวและเน่าแห้ง ตายได้   ถ้าผ่าดูจะเห็นสีนํ้าตาลแดงหรือดําบนต้น  โรคนี้เกิดได้ทั้งไหล  โคนต้น  ราก และ

               ผล  ถ้าเกิดบนผล  แผลจะเป็นจุดขนาดเล็กและขยายใหญ่เป็นสีดําคลํ้า  แผลลึก  ขอบแผลดํา ตรงกลางแผลสี
               นํ้าตาลอ่อน หรือเทา

                               สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                                              เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum  gloeosporioides  เชื้อราชนิดนี้ทําลายทั้งราก ต้น ใบและ
               ผล และพบระบาดเสมออยู่ที่ผล  สปอร์ของเชื้อราดังกล่าวจะแพร่ระบาดไปยังผลในต้นเดียวและต้นอื่น ๆ

               ตลอดจนภาชนะบรรจุผลได้โดยง่ายโดยอาศัยการสัมผัสติดไปหรือ ลมเป็นพาหะนําเชื้อโรค คือสปอร์ปลิว

               ไปทั่ว โดยเฉพาะในบริเวณใกล้เคียงจะทําให้เกิดเป็นโรคได้ง่ายมาก

                               การป้องกันและกําจัด :
                               ใช้ไหลที่ปลอดโรค  กําจัดวัชชพืช ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค  ฉีดพ่นด้วยสารกําจัดเชื้อรา เช่น

               โปรพิโคนาโซล โปรคลอราช ผสมดูโอ400   ฉีดพ่นในแปลงไหลเพื่อป้องกันและกําจัดโรค  ถ้าโรคระบาด

               ในแปลงปลูกจะเริ่มถึงขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือแคปแทน 48

               กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะก่อนเก็บเกี่ยว
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140