Page 138 -
P. 138
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
132
ติดอยู่บนกิ่ง โรคนี้ถ้าเกิดแพร่ระบาดมากแล้วจะทําให้เกิดผลเสียหายต่อผลผลิตและบางผลยังเป็นโรคต่อไป
จนถึงระยะหลังการเก็บเกี่ยวได้อีก
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Glomerella cingulata (Colletotrichum annonae) โดยทั่วไปเชื้อราจะติด
ไปกับส่วนที่เป็นโรค และสปอร์ conidia จะปลิวไปกับลม
การป้องกันและกําจัด :
ควรเก็บดอกและผลที่เป็นโรคออกไปเผาไฟและพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซี
คลอไรด์ 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
2. โรคผลจุดสีม่วง
ลักษณะอาการ :
โรคจะเกิดขึ้นที่ผลเกิดเป็นจุดสีม่วง แผลจะขยายใหญ่ขึ้นมีรูปร่างค่อนข้างกลม แล้วจะ
แห้ง ผิวของแผลอาจมีรอยแตก บนพื้นแผลจะมีตุ่มนูนสีดําขนาดเท่าหัวเข็มหมุดฝังอยู่ในเนื้อเยื่อกระจัด
กระจายอยู่ทั่วไป ผลที่เป็นโรคมักจะมีขนาดเล็ก และไม่เจริญจนแก่หรือสุกเต็มที่ ตรงก้านของผลก็จะถูก
เชื้อสาเหตุเข้าทําลาย เกิดจุดสีนํ้าตาลปนม่วงแห้งและแข็ง แล้วสีจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลปนดํา โรคนี้ยัง
สามารถเกิดเป็นกับผลหลังระยะการเก็บเกี่ยวไปแล้วได้เช่นกัน ทําให้เกิดมีลักษณะอาการดังกล่าว
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Pestalotia bicolor มีสปอร์ในตุ่มนูน acervulus สีดําดังกล่าวเป็นจํานวน
มาก เมื่อแก่ก็จะดันผิวแตกออก ลมเป็นพาหะของการแพร่ระบาดทําให้สปอร์ไปงอกเข้าทําลายได้ต่อไป
การป้องกันและกําจัด :
เก็บผลที่เป็นโรคออกไปเผาไฟแล้วพ่นด้วยสารเคมี เช่น ไซเนบ 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้
ทั่วทั้งพุ่ม โดยเฉพาะที่ผลเหล่านั้น หรือจะใช้เบโนมิล 10 กรัม ต่อนํ้า 20 ลิตร พ่นก็ได้
3.โรคแคงเคอร์
ลักษณะอาการ :
ส่วนปลายของผลจะเกิดเป็นจุดสีม่วงในระยะเริ่มแรก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่มีขนาด 0.5
นิ้ว รูปร่างของแผลค่อนข้างกลม และลุกลามเข้าไปยังส่วนในของผลประมาณครึ่งผล แผลดังกล่าวจะแห้ง
และแข็ง มีรอยแตกที่แผลอย่างเห็นได้ชัด ผิวของแผลเป็นสีดํา เมื่อผ่าตรวจดูเนื้อเยื่อภายในของผล จะพบว่า
เป็นสีนํ้าตาลลึกลงไปประมาณ 1 ใน 4 นิ้ว เนื้อมีรสค่อนข้างเปรี้ยว โรคนี้ยังเกิดเป็นกับใบเกิดเน่า ซํ้า ตาม
ขอบริมแผล แต่ตรงกลางแผลแห้งและแข็งสีนํ้าตาลปนม่วง อย่างไรก็ตาม บนแผลทั้งที่ใบและผลจะมีตุ่มนูน
สีนํ้าตาลของเชื้อราเกิดอยู่ทั่วไป มีขนาดประมาณเท่าหัวเข็มหมุด