Page 133 -
P. 133
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
127
4. โรคผลเน่าเละ
ลักษณะอาการ :
โดยทั่วไปเชื้อราจะเข้าทําลายผลที่ใกล้สุกหรือที่แก่เต็มที่แล้ว ซึ่งเชื้อราจะผ่านเข้าไปทาง
แผลเป็นส่วนใหญ่ เมื่อสตรอเบอร์รี่ถูกเชื้อเข้าทําลายจะมีอาการอ่อนนุ่ม ฉํ่านํ้า เน่าเละ ซึ่งระยะต่อไปก็จะมี
ของเหลวจากในผลไหลออกมา ในระยะแรกผิวของเปลือกจะดูสดเหมือนสีของผิวปกติ ทั้ง ๆ ที่เนื้อในของ
ผลกําลังถูกทําลายต่อมาผิวของเปลือกจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลอ่อน ในระยะที่เก็บผลมาบรรจุไว้ในหีบ
ห่อเชื้อราก็สามารถเข้าทําลายได้อีก โดยเฉพาะที่ขั้วของผลหรือรอยแผลทําให้ผลเน่ามีลักษณะอาการ
ดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีเส้นใยขาวและปลายเส้นใยมีจุดสีดําของเชื้อรา เกิดปกคลุมผิวของผลที่เป็นโรค
บางครั้งจะพบว่าเป็นสีดําบนเส้นใยสีขาวเต็มไปหมด
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Rhizopus nigricans และ R. stolonifer สีดําดังกล่าวเป็นกลุ่มก้อนของ
สปอร์ เมื่อแตกออกจะปลิวไปทั่วหรือหล่นคลุกเคล้าผลสตรอเบอร์รี่อยู่ในกล่องหรือภาชนะหีบห่อ ขณะ
ขนส่ง ซึ่งสามารถเข้าทําลายผลอื่น ๆ ให้เกิดเน่าขึ้นอีกได้
การป้องกันและกําจัด :
ขณะเก็บผลสตรอเบอร์รี่พยายามอย่าให้เกิดแผล ถ้าหากเป็นไปได้ขณะขนส่งควรอยู่ใน
อุณหภูมิที่ 50 องศาฟาเรนไฮต์ จะช่วยป้องกันหรือลดการเกิดโรคนี้ได้มาก หรือแช่ผลในสารเคมี เช่น แอกทิ
ไดออน หรือแอกทิดาน 100 พีพีเอ็ม นาน 20 นาที แล้วผึ่งให้แห้ง
5. โรคใบไหม้
ลักษณะอาการ :
ใบจะเกิดจุดสีม่วง รูปร่างค่อนข้างกลม ส่วนมากจะเกิดอยู่ใกล้ชิดกับเส้นใบ เมื่อแผล
ขยายใหญ่มีลักษณะค่อนข้างยาว ตรงกลางแผลเป็นสีนํ้าตาลดําหรือนํ้าตาลเข้มขนาด 2-3 มม. ถัดออกมาเป็น
สีนํ้าตาลอ่อนเป็นกว้างประมาณ 5 มม. โดยรอบและรอบนอกสุดของผลจะเป็นสีม่วง ซึ่งจะค่อย ๆ จาง
กลมกลืนไปกับสีเขียวของผืนใบที่ยังไม่ถูกทําลาย ส่วนมากแผลที่เกิดติดกับเส้นกลางใบจะมีลักษณะเป็นรูป
หอก V-shaped แผลจะค่อย ๆ แห้งไป แต่แข็งและนูนเด่นขึ้นมาบนส่วนแผลที่ แห้งจะมีตุ่มนูนสีดําของเชื้อ
ราเกิดอยู่ประปราย
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Dendrophoma obscurans นํ้าค้างหรือนํ้าฝนจะชะสปอร์แพร่ไประบาดได้
แล้วจะงอกเข้าทําลายต่อไปอีก