Page 128 -
P. 128

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      122


               พัด เมื่อโรคมีลักษณะอาการรุนแรงจะเกิดแผลดังกล่าวอยู่ทั่วใบ ใบจะแห้งและเกิดฉีกขาดอยู่เป็นแห่ง ๆ บน

               พื้นแผลจะมีกลุ่มของเชื้อราเจริญขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ๆ กระจายอยู่ทั่วแผล ทําให้แลเห็นเป็นสีเทาดํา ถ้าเป็นมาก
               จะทําให้ชะงักการเจริญเติบโต  ผลิดอกออกผลน้อยหรือไม่ดกเท่าที่ควร

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Helminthosporium   rostratum   สปอร์  conidia   ที่เกิดอยู่ผิวของแผล

               เหล่านั้นเมื่อแก่จะปลิวไปแพร่ระบาดสู่ต้นอื่น นอกจากลมเป็นพาหะนําเชื้อโรคไปแล้วนํ้าก็มีความสําคัญ
               เช่นกัน

                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อพบว่าโรคนี้เริ่มมีการแพร่ระบาดเข้าทําลาย ก็ต้องพ่นด้วยสารเคมี เช่น โปรปิเนบ 30

               กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่ว ใบที่ร่วงหล่นต้องเก็บออกเผาไฟเสีย


               11. โรคจุดวงแหวน

                        ลักษณะอาการ :

                               โรคนี้จะเกิดเป็นกับมะละกอทุกพันธุ์ โดยจะเกิดมีลักษณะอาการใบมีสีซีดเหลือง เส้นใบ

               หยาบหนาขึ้น ต่อมาก็จะแสดงอาการใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดเล็กบิดเบี้ยว รูปร่าง
               ผิดปกติ  ผิวใบเป็นคลื่น ถ้ามะละกอได้รับเชื้อที่รุนแรงใบจะเรียวเล็ก เนื้อใบจะหดหายจะเหลือแต่เส้นใบ ทํา

               ให้แลเห็นมีลักษณะเป็นเส้นบนก้านใบและลําต้นเกิดขีดสีเขียวเข้มทั่วไป ต้นที่ได้รับเชื้อตั้งแต่ระยะยังเป็น

               ต้นอ่อน ต้นจะแคระแกร็น  ใบแก่อาจร่วงหมดจนเหลือแต่ใบยอด  ผิวของผลจะเกิดเป็นรอยวงกลมเหมือน
               วงแหวนแห้งเป็นสีนํ้าตาลอ่อนหรือสีขาวนวล เกิดกระจายไป

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                                     โรคนี้เกิดจากเชื้อวิสา  PRV   ถ่ายทอดได้ดีโดยวิธีสัมผัส และถ่ายทอดได้ทางราก
               นอกจากนี้ยังมีแมลงพวกเพลี้ยอ่อน Aphis  gossypii  และ  A.craccivora  เป็นพาหะนําเชื้อโรควิสาไปสู่ต้น

               อื่น ๆ แต่เชื้อวิสาชนิดนี้ไม่สามารถถ่ายทอดผ่านทางเมล็ด  นอกจากนี้ยังมีแตงโม แคนตาลูป แตงกวา

               ฟักทอง นํ้าเต้า และแตงไท เป็นพืชอาศัยของเชื้อวิสาชนิดนี้ด้วย

                        การป้องกันและกําจัด :
                                        ขุดต้นมะละกอและพืชอาศัยที่เป็นโรคนี้ออกเผาไปทําลายเสีย เมื่อพบว่ามีเพลี้ยอ่อนที่

               ต้นมะละกอและพืชอาศัย ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น โอเมทโธเอท 30  ซีซีต่อนํ้า 20  ลิตร หรือ เซวิน-เอส 85

               จํานวน 60 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ใช้พ่นแทนก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133