Page 125 -
P. 125

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      119




               5. โรครากปม

                        ลักษณะอาการ :

                               ไส้เดือนฝอยเป็นสัตว์ขนาดเล็กประมาณเส้นใยฝ้าย เจริญอยู่ในดินที่มีความชุ่มชื้นบริเวณ
               โคนต้น ส่วนใหญ่จะมีปริมาณในระดับผิวดินไม่เกิน 6 นิ้ว ไส้เดือนฝอยจะเข้าทําลายรากไชชอนเข้าไปใน

               เนื้อและขับถ่ายนํ้าย่อยออกมา นํ้าย่อยดังกล่าวเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์และเนื้อเยื่อ ทําให้เซลล์

               ของรากตรงส่วนนั้นเกิดการแบ่งตัวมีจํานวนเพิ่มมากขึ้น และบางเซลล์จะเจริญมีขนาดใหญ่กว่าปกติเป็น
               หลายเท่า จึงทําให้เนื้อเยื่อของรากบริเวณนั้นมีลักษณะอาการบวมโป่งเป็นปมอย่างเห็นได้ชัด เมื่อผ่านตรวจดู

               ภายในตรงที่รากเป็นปมนั้นจะพบว่าภายในมีไส้เดือนฝอยเพศเมีย รูปร่างคล้ายถุงหรือนํ้าขนาดเท่าปลายเข็ม

               หมุดใสสะท้อนแสง และอาจมีกลุ่มของไข่ของไส้เดือนฝอยวางอยู่บริเวณปากแผลนั้น จากผลของการที่
               ไส้เดือนฝอยเข้าทําลายราก จึงมีผลให้รากนั้นไม่สามารถทําหน้าที่ดูดนํ้าแร่ธาตุอาหารได้ตามปกติ จึงทําให้

               ใบเหลืองเหี่ยวไปผลิดอกออกผล

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม  Meloidogyne   incognita   นํ้าเป็นพาหะที่สําคัญของการแพร่
               ระบาด แต่อย่างไรก็ตามตัวไส้เดือนฝอยเองก็สามารถเคลื่อนที่ไปได้ ซึ่งจะเข้าทําลายรากใกล้เคียงได้อีก

                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อขุดพบว่ารากของมะละกอเป็นโรครากปมเกิดขึ้น ก็ควรคลุกดินโคนลําต้นด้วยสารเคมี

               เช่น ฟูราดาน  รักบี้  หรือไวเดท 15 กรัมต่อต้น


               6. โรครากเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               เชื้อราสาเหตุจะเข้าทําลายรากให้เกิดมีลักษณะอาการเน่า เป็นสีนํ้าตาล โรคจะลุกลาม

               ขึ้นมาสู่บริเวณเนื้อเยื่อโคนลําต้น เน่า  มีลักษณะหยุ่น สีนํ้าตาล ฉํ่านํ้า แผลอาจลึกไม่จํากัด แต่อาจจะกว้าง
               10-12 ซม. เป็นทางสูงขึ้นไป 20-25 ซม. ใบจะเหลืองและเหี่ยวห้อยลงมา แล้วหลุดร่วงลงสู่พื้นดิน ถ้าหากอยู่

               ในระยะติดผลจะเหี่ยวย่นไม่สมบูรณ์และร่วงหล่นไป  ที่โคนลําต้นจะเน่า  รอบเปลือกของลําต้นแตก ฉีกขาด

               และมีของเหลวสีนํ้าตาลไหลออกมา ต้นจะยืนตาย แต่ถ้ามีลมพัดจะทําให้ต้นโค่นล้มลงไป โดยทั่วไปโรคนี้
               มักจะเกิดกับมะละกอที่ปลูกอยู่บนดินมีการระบายนํ้าไม่ดี ความชื้นมากเกินไป นับได้ว่าเป็นโรคที่ก่อความ

               เสียหายมาก และเกิดแพร่ระบาดทําลายมะละกอที่ปลูกอยู่เป็นหย่อม ๆ ทั่วไป แต่เกิดแพร่ระบาดอย่าง

               รวดเร็ว
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130