Page 122 -
P. 122
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
116
13
มะละกอ
มะละกอ (Carica papaya) เป็นพืชท้องถิ่นของประชาชนชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ใช้
ประกอบอาหารพื้นบ้าน “ส้มตํา” คนส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมบริโภค
กัน จึงเป็นผลให้ประชาชนที่มีที่ดินเหลือในบริเวณบ้าน ก็ใช้ปลูกมะละกอกัน อย่างน้อยก็ใช้ผลบริโภคกัน
ในครัวเรือน ส่วนที่เหลือก็จําหน่ายออกสู่ตลาดไป มะละกอ เป็นพืชเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นพันธุ์แขกดํา
และพันธุ์ที่นิยมปลูกกันทั่วไป ใช้รับประทานดิบและสุก ในระยะหลังนี้ได้มีการนําพันธุ์ต่างประเทศมา
ทดลองปลูก ซึ่งก็สามารถขึ้นได้ดีมีทั้งพันธุ์รับประทานสุกและมีทั้งชนิดที่กรีดเอานํ้ายางทําปาเปน (papain)
เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การหมักเนื้อให้เปื่อยสําหรับการทําสวนมะละกอในปัจจุบันมีปลูกกัน
ทางภาคกลางกันทั่วไป แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกกันมากเพื่อบริโภคในท้องถิ่น ปัจจุบันส่งผลผลิต
ไปจําหน่ายในตลาดต่างประเทศ โดยส่งไปยังประเทศคูเวตซาอุดิอาระเบีย เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ บาร์เรน
เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมัน สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน อเมริกา ฮ่องกง
อุปสรรคในการทําสวนมะละกอเป็นการค้านั้นมีปัญหาโรคที่สําคัญดังนี้
1. โรคใบด่างหรือโมเสค
ลักษณะอาการ :
ในระยะเริ่มแรก ใบยอดแสดงอาการซีดเหลือง เส้นใบหยาบหนาขึ้น ต่อมาแผ่นผืนใบจะ
เริ่มมีใบด่างเป็นคลื่น สีเขียวเข้มสลับกับเขียวอ่อนซีดเห็นชัดเจน ลักษณะอาการนี้เรียกว่าใบด่าง (mosaic)
บางครั้งใบด่างอาจเกิดเหมือนเป็นแถบวงซ้อนกัน ใบที่ออกมาใหม่หลังจากเป็นโรคแล้ว มีขนาดเล็กลงและ
บิดเบี้ยวผิดรูปร่าง ในบางครั้งจะเรียวเล็กเป็นเส้นยาว เนื้อใบหดหาย ส่วนของก้านใบปรากฏเป็นขีดเขียว
เข้มอยู่กระจัดกระจายทั่วไป ต้นที่เป็นโรครุนแรงยอดจะชะงักงันหยุดการเจริญเติบโต ส่วนใบยอดอาจงุ้ม
และมีขนาดเล็กบริเวณลําต้นมีสีเขียวอ่อน แต่ที่ส่วนใบยอดปรากฏซีดและมีสีเขียวเข้มด่างประปรายทั่วใบ
ใบจะเหลืองแห้งและร่วงจนหมดต้นและยืนตายคล้ายเสาไม้แห้งปักไว้ ถ้ามะละกอเป็นโรคในระยะออก
ดอกติดผล ซึ่งจะอยู่ในระยะที่อายุ 8 เดือนขึ้น ไปนอกจากจะปรากฏอาการที่ใบแล้ว ยังพบอาการบนผลอ่อน
ที่มีสีเขียว แล้วจะปรากฏรอยด่างมีลักษณะแผลซํ้าเป็นจํ้าแถบซ้อนกันอยู่กระจายทั่วไปบนแผล รอยแผลชํ้านี้
เป็นจํ้า ๆ มี ลักษณะค่อนข้างกลมและมีรอยจํ้าแถบสีเขียวเข้มล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ผลที่เป็นโรคจะมีขนาด
เล็กลง