Page 124 -
P. 124
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
118
ต้นจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรง จึงไม่อาจที่จะทรงต้นอยู่ต่อไปได้เมื่อถูกลมพัดแรงก็จะโค่นล้มไป ถ้า
เกิดในช่วงออกดอก ติดผล จะทําให้ผลเน่าไปด้วย พบว่าโรคนี้เกิดแพร่ระบาดก่อความเสียหายมากในบาง
แห่ง
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคโคนเน่าหรือเรียกว่า Phytophthora Blight เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora
พบเป็นมากในฤดูฝนเชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อมะละกอเจริญเติบโตเชื้อรานี้จะแพร่ระบาดเข้าทําลาย
ได้รวดเร็ว เมื่อมีความชื้นสูงก็จะยิ่งเพิ่มการแพร่ระบาดได้มากขึ้น โดยสปอร์จะไหลไปกับนํ้าเข้าทําลายต้น
อื่น
การป้องกันและกําจัด :
ถ้าหากมีนํ้าท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นโรคนี้ได้ง่าย ควรจัดระบบให้มีการระบายนํ้าให้ดีซึ่ง
เป็นสิ่งจําเป็นเมื่อปรากฏอาการของโรคมากก็ควรขุดออกทําลาย ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เข้าทําลายก็ควรรดด้วย
สารเคมี เช่น เมทาเลคซีล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร พอเซ็ทธิลอะลูมินั่ม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตรหรือจะถากส่วนที่
เป็นโรคออกแล้วทาด้วยสารเคมีดังกล่าว แต่ต้องเพิ่มความเข็มข้นขึ้นเป็น 100 กรัม และ 200 กรัมต่อนํ้า 1
ลิตร
4. โรคแอนแทรคโนส
ลักษณะอาการ :
ลักษณะอาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหายเป็นจุดสีเขียวคลํ้า ส่วนที่ผลแก่จะเกิด
แผลสีนํ้าตาลลุกลามเป็นวงกลม โดยเฉพาะผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้นเนื้อเริ่มนิ่ม อาการของโรคยิ่ง
ลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมบุ๋ม และเป็นวงซ้อน ๆ กัน เป็นสีเทา
ปนดํากับผลทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มเพื่อให้สุกอยู่ในภาชนะโรงเรือน
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloesporioides (Glomerela cingulata) เชื้อราชนิดนี้
ทําลายทั้งใบอ่อนและผล และพบระบาดเสมออยู่ที่ผล สปอร์ของเชื้อราดังกล่าวจะแพร่ระบาดไปยังผล
มะละกอในต้นเดียวและต้นอื่น ๆ ตลอดจนภาชนะบรรจุผลมะละกอได้โดยง่ายโดยอาศัยการสัมผัสติดไป
หรือ ลมเป็นพาหะนําเชื้อโรค คือสปอร์ปลิวไปทั่ว โดยเฉพาะในบริเวณใกล้เคียงจะทําให้เกิดเป็นโรคได้ง่าย
มาก
การป้องกันและกําจัด :
ถ้าโรคระบาดในแปลงปลูกจะเริ่มถึงขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อ
นํ้า 20 ลิตร หรือแคปแทน 48 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะก่อนเก็บเกี่ยว