Page 123 -
P. 123
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
117
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคใบด่างมีสาเหตุเกิดจากเชื้อวิสา ที่มีเป็นรูปท่อนยาว การถ่ายทอดโรคหรือติดโรคได้
โดยการสัมผัส สําหรับมะละกอพันธุ์แขกดําจะแสดงอาการของโรคหลังจากได้รับเชื้อนี้ประมาณ 12-16 วัน
นอกจากนั้นมีแมลงพาหะนําเชื้อวิสาไปสู่ต้นอื่นก็คือ เพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis craccivora) และเพลี้ยอ่อนฝ้าย
(A.gossypii) โรคนี้ยังไม่พบว่ามีการถ่ายทอดโรคทางเมล็ด แต่เกิดแพร่ระบาดทําความเสียหายต่อมะละกอที่
ปลูกอยู่ในแถบจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาก ซึ่งจําเป็นต้องโค่นทําลายจนหมดสิ้น แล้วจึงเริ่มปลูก
กันใหม่ นับว่าเป็นปรากฏการณ์ในการแพร่ระบาดของโรคนี้มากที่สุด
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อพบว่ามะละกอต้นใดเป็นโรคนี้จําเป็นอย่างยิ่งต้องโค่นทําลายทิ้งไปและถ้าตรวจพบว่า
มีแมลงพวกเพลี้ยอ่อนเกิดแพร่ระบาดขึ้นในแปลงปลูก ก็ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น โอเมทโธเอท 40 ซีซี. ต่อ
นํ้า 20 ลิตร หรือคาร์บาริล 60 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
2. โรคราแป้ง
ลักษณะอาการ :
อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นสปอร์ของเชื้อราเป็นขุยสีขาว ๆ
คล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทําลายมากจะแห้งและร่วงหรือใบเสียรูป ยอดชะงักงัน ผลที่
ยังอ่อนมากๆ ถ้าเป็นโรคนี้ก็จะร่วง ถ้าผลโตหน่อยผลจะร่วงหรืออาจจะเจริญเติบโตได้ต่อไปอีกแต่ผิวกร้าน
และขรุขระ ส่วนที่ก้านนั้นมีแผลสีเทาจาง ๆ แผลจะมีลักษณะไม่แน่นอนอย่างไรก็ตาม ผลที่เป็นโรคเมื่อแก่
เต็มที่จะมีผิวไม่สวย ตลาดผู้บริโภคผลสดจะไม่ต้องการ จึงเป็นผลให้ได้ราคาตํ่ากว่าปกติ
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium caricae โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์สีขาวเป็นผง
คล้ายฝุ่น ปลิวตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โรคนี้มักจะเกิดในฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว ซึ่งมีความชื้นน้อย
การป้องกันและกําจัด :
ควรพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรคราเช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ ไดโนแคป
20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
3. โรคโคนเน่า
ลักษณะอาการ :
อาการของโรคพบทั้งที่รากและโคนลําต้นเป็นสีนํ้าตาลเน่า และส่งกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
อาการเน่าที่โคนต้นบริเวณระดับดิน แผลลุกลามขึ้น นอกจากนี้ลักษณะอาการของโรคจะปรากฏอาการที่ใบ
ใบเหี่ยวและเหลือง ยืนต้นตายหรือล้มได้ง่ายที่สุด เพราะเมื่อโคนลําต้นเน่าก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อของลํา