Page 126 -
P. 126
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
120
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Pythium aphanidermatum สปอร์ของเชื้อราสาเหตุสามารถแพร่ระบาด
ไปกับนํ้าแล้วงอกเข้าทําลายรากของต้นอื่น ๆ อีก
การป้องกันและกําจัด :
ราดโคนต้นให้ทั่วด้วยสารเคมี เช่น เมทาแลกซิล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ เบนาแลกซิล
20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่ว
7. โรคใบหยิก
ลักษณะอาการ :
โดยทั่วไปลักษณะอาการจะปรากฏให้เห็นเด่นชัดกับใบอ่อนหรือใบที่ยังเจริญไม่เต็มที่
โดยผืนใบจะห่อและคดงอไปมา ปลายใบและขอบริมใบจะโค้งงอ ห่อเข้าหาผืนใบด้านใต้ เมื่อโรคมีลักษณะ
อาการรุนแรงผืนใบจะหงิกงอ ย่นไปทั่วทั้งใบ หรือม้วนโค้งไม่อยู่ในสภาพเหมือนที่เจริญอยู่ในปกติ ต้น
มะละกอจะหยุดการเจริญเติบโตไม่ผลิดอกออกผล หากเกิดเป็นโรคนี้ในระยะที่ยังเป็นต้นอ่อนอยู่ต้นจะมี
ขนาดเล็ก เตี้ย แคระแกร็น ใบหงิกหมดทั้งต้น โรคนี้จึงถือได้ว่าเป็นโรคที่รุนแรงโรคหนึ่งที่เกษตรกรจะต้อง
ให้การตรวจดูแลอยู่ตลอดเวลาต่อแปลงปลูก และตลอดจนในเรือนเพาะชําที่กําลังเพาะเพื่อให้ได้ต้นกล้าที่
สมบูรณ์ก่อนนําไปปลูก
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อวิสา Virus ซึ่งมีแมลงหวี่ขาว white fly (Bemisia tabaci) เป็นพาหะนํา
โรค
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อพบว่ามีแมลงหวี่ขาวแพร่ระบาดอยู่ในแปลงปลูกก็ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น พาราไธ
ออน 30 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร ส่วนต้นที่เป็นโรคก็ควรขุดออกไปเผาไฟทําลายเสียหรือฝังลงในดินให้มิดชิด
8. โรคลําต้นเน่า
ลักษณะอาการ :
ตามผิวของลําต้นจะเกิดเป็นแผลบุ๋มลงไป ตรงกลางแผลแห้งแข็ง และฉํ่านํ้า โดยรอบแผล
เมื่อผ่าตรวจดูเนื้อเยื่อจะพบว่าภายในเน่าเป็นสีนํ้าตาล ถ้าหากโรครุนแรงจะเกิดแผลดังกล่าวทั่วไปโดยรอบ
ต้น ลักษณะอาการที่ใบจะสีเขียวซีดจาง และมีจุดแห้งบนใบอยู่เป็นแห่งๆ จุดอาจเกิดซ้อนกัน ใบอาจบิด
เบี้ยวโค้งงอต้นเตี้ยแคระแกร็น ไม่ผลิดอกออกผล ใบมักจะลู่ห้อยลงมา มีลักษณะคล้ายร่มที่กางออก ใบมีสี
ไม่สดใส เมื่อมีพายุพัดรุนแรงจะทําให้ลําต้นหักโค่นครึ่งต้น เหลือแต่โค่นคล้ายตอไม้จึงนับว่าเป็นอุปสรรค
ต่อการปลูกมะละกอมาก