Page 127 -
P. 127
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
121
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Corynespora cassiicola เชื้อราเกิดสปอร์ conidia ต่อเนื่องกันขึ้นไปบน
ก้าน conidiophores เมื่อแก่จะปลิวไปกับลม
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อปรากฏว่าโรคนี้เริ่มแพร่ระบาดก็ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น บีม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
สําหรับต้นที่เป็นโรคมากก็ควรขุดออกไปเผาไฟทําลายเสีย
9. โรคผลเน่า
ลักษณะอาการ :
สปอร์ของเชื้อราจะปลิวแพร่ระบาดไปตกบนผิวของผลที่แก่เต็มที่ หรือที่สุกทั้ง ที่ยังติด
อยู่บนต้นและภายหลังการเก็บเกี่ยวไปแล้ว สปอร์งอกเข้าทําลายผลทําให้เกิดเป็นจุดสีนํ้าตาลดํา จุดจะขยาย
ใหญ่ มีขนาดไม่แน่นอน ฉํ่านํ้า ผิวเปลือกของผลเน่าเละ เมื่อเอามือถูกจะหลุดออกง่ายเห็นเนื้อเยื่อภายในของ
ผล เชื้อราสาเหตุจะขยายการทําลายเข้าไปสู่เนื้อเยื่อภายในลึกลงไป เกิดเน่าเละ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เมื่อเป็น
มากจะเน่าหมดทั้งผลอย่างรวดเร็ว บนผิวเปลือกของส่วนที่เป็นโรคจะมีเส้นใยของเชื้อราเจริญขึ้นปกคลุม
เป็นสีขาวปนเทาอยู่ทั่วไป จึงเป็นโรคที่ร้ายแรงมากต่อผลผลิต โดยเฉพาะหลังการเก็บเกี่ยว และแพร่ระบาด
ไป สู่ยังผลอื่นที่ใกล้เคียงได้ในระยะเวลาอันสั้นทั่วทั้งผล ซึ่งจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะผลอ่อนที่ยังมี
สีเขียว เมื่อผลแก่มีสีแดงก็จะเน่าและร่วงหล่นไป โดยทั่วไปมะละกอที่ได้รับเชื้อตั้งแต่ต้นอ่อนมักจะไม่ติด
ผล หากติดผลก็จะมีขนาดเล็กผิดปกติ
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Macrophomina phaseoli ลมจะพัดเอาสปอร์ conidia ปลิวไปทั่ว
โดยเฉพาะผลมะละกอที่เก็บเกี่ยวมากองรวมกันไว้ในเรือนโรงก็จะเป็นโรคได้ง่ายและมากยิ่งขึ้น
การป้องกันและกําจัด :
พ่นด้วยสารเคมี เช่น พีซีเอ็นบี 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ให้ทั่วโดยเฉพาะในระยะเวลาใกล้
เก็บเกี่ยว หรือแม้แต่หลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวไปใหม่ ๆ แล้วผึ่งให้แห้งก่อนการบรรจุหีบห่อก็ควรทําความ
สะอาดผิวอีกครั้ง
10. โรคใบไหม้
ลักษณะอาการ :
เกิดเป็นจุดขนาดเล็กเท่าเข็มหมุดค่อนข้างกลม สีเหลืองและอาจฉํ่านํ้าที่บนผืนใบ ส่วน
ของปลายใบ จุดจะขยายใหญ่เข้ามาสู่ผืนใบ เกิดแผลสีนํ้าตาล หรือสีนํ้าตาลปนเหลืองตรงกลางพื้นแผลจะ
แห้งโดยรอบขอบริมแผลจะมีสีเข้มและฉํ่านํ้า ใบส่วนที่เป็นโรคจะแตกหรือฉีกขาดออกโดยง่ายเมื่อถูกลม