Page 132 -
P. 132
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
126
2. โรครากเน่า
ลักษณะอาการ :
เนื่องจากเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคนี้เจริญได้ดีในดินที่มีความชื้นค่อนข้างสูง ดังนั้นจะ
เข้าทําลายสตรอเบอร์รี่ที่ราก รากที่ถูกทําลายโดยทั่วไปก็จะเป็นรากฝอย แล้วลุกลามเข้ามายังรากใหญ่ ราก
จะเกิดอาการเน่าเป็นสีนํ้าตาลเข้มหรือนํ้าตาลดํา ในระยะที่เชื้อราเข้าทําลายเพียงเล็กน้อยจะทําให้ต้นสตรอ
เบอร์รี่ชะงักการเจริญเติบโต พุ่มมีขนาดเล็ก ติดผลน้อยและมีขนาดผลเล็ก ไม่แก่ตามปกติ เมื่อรากส่วนใหญ่
ถูกทําลายจะมีผลให้ใบแสดงอาการเหี่ยวเฉาอย่างเห็นได้ชัดในเวลาเที่ยงวันและจะฟื้นสดใสเหมือนปกติใน
เวลากลางคืน ในที่สุดสตรอเบอร์รี่เหี่ยวแห้งตายไปทั้งต้น
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora fragariae สปอร์ของเชื้อราจะเกิดขึ้นเป็นจํานวนมากและ
จะถูกนํ้าพัดพาไปทําลายต้นอื่นอีกได้
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อพบว่าสตรอเบอร์รี่เริ่มเป็นโรค ควรรดโคนต้นด้วยสารเคมี เช่น เมตาแลกซิล 20 กรัม
ต่อนํ้า 20 ลิตร หรือฟอเซตธิลอะลูมินั่ม 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร สําหรับต้นที่เป็นโรคมากต้องขุดออกไปเผาไฟ
ทําลายเสียให้หมดแล้วรดดินด้วยสารเคมี ดังกล่าวให้ทั่ว
3. โรคผลเน่าแห้ง
ลักษณะอาการ :
โดยทั่วไปเชื้อราจะเข้าทําลายตั้งแต่สตรอเบอร์รี่ออกดอกซึ่งก้านดอกฐานดอก จะเกิดเป็น
จุด กลีบดอกไหม้ แต่การผสมเกสรก็จะดําเนินไปจนติดผล ซึ่งผลก็สามารถเจริญต่อไปจนมีขนาดใหญ่ ใน
ระยะนี้เชื้อราจะขยายการเข้าทําลายเพิ่มขึ้นทั้งบริเวณก้านผลและผล ที่ผลจะเกิดเป็นจุดเน่าเป็นแห้ง ๆ ใน
ระยะแรกจุดที่ถูกทําลายจะมีลักษณะอ่อนนุ่มกว่าเนื้อปกติ และจะถูกทําลายทั้งหมด แล้วเปลือกของผลจะ
ค่อย ๆ แห้งไป เปลือกของผลจะเหี่ยวย่นเป็นสีนํ้าตาล มีลักษณะแข็งอย่างไรก็ตามโรคนี้จะเกิดเป็นมากกับ
ผลที่เกิดอยู่ใกล้ชิดกับระดับผิวดิน
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากเชื้อรา Botrytis cinerea สปอร์ของเชื้อราจะเกิดเป็นกลุ่มอยู่บนผิวของผลที่มีสี
เทา เมื่อถูกลมพัดหรือฝนชะก็จะแพร่ระบาดไปเข้าทําลายผลอื่น
การป้องกันและกําจัด :
ในระยะสตรอเบอร์รี่เริ่มมีดอกและระยะติดผลควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น แคปแทน 40
กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือเบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร