Page 134 -
P. 134
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
128
การป้องกันและกําจัด :
เมื่อพบว่าโรคเริ่มระบาดควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมิล 10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ ไธ
แรม 50 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร
6. โรคขอบใบเหลือง
ลักษณะอาการ :
โดยทั่วไปเมื่อสตรอเบอร์รี่เป็นโรคนี้ การเจริญเติบโตจะช้ามากอันเป็นผลให้ต้นเตี้ย แคระ
แกร็น ใบโค้งงอห่อขึ้นข้างบน ทําให้มีลักษณะเหมือนถ้วยหรือช้อนแกง ขอบใบโดยรอบมีสีเหลืองเข้ม
ก้านใบสั้น ใบส่วนมากจะแผ่ขนานไปกับผิวดิน แต่ต้นสตรอเบอร์รี่จะไม่ตาย ไม่ผลิดอกออกผล โรคนี้จะมี
ลักษณะอาการขอบใบเหลืองเมื่ออุณหภูมิในอากาศค่อนข้างร้อน ถ้าเกิดแพร่ระบาดมากก็จะทําให้เกิดการ
เสียหายต่อสวนสตรอเบอร์รี่
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากการเข้าทําลายของเชื้อวิสา virus โดยมีเพลี้ยอ่อน Capitophorus fragaefolii
เป็นพาหะนําโรคไปสู่ต้นอื่น ๆ
การป้องกันและกําจัด :
ต้นสตรอเบอร์รี่ที่เป็นโรคต้องขุดออกเผาไฟทําลายเสีย และถ้าพบเพลี้ยอ่อนก็พ่นด้วย คาร์
บารีล 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือโอเมทโธเอท 40 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร และอย่านําพันธุ์จากแปลงที่เป็นโรคไป
ปลูกอีกต่อไป
7. โรคไส้เดือนฝอย
ลักษณะอาการ :
ต้นที่เป็นโรคจะมีตายอดขนาดเล็กการเจริญเติบโตช้า ขนอ่อนที่ขึ้นปกคลุมตายอดจะมี
จํานวนลดลง ใบยาวและขนาดเล็กกว่าปกติ ก้านใบจะบวมโป่งออก ใบหนาและโค้งงอไปมาใบแก่ที่อยู่
ด้านล่างใกล้ชิดผิวดินมีขนาดเล็กและสั้น ไหลงอกและเจริญช้าโดยทั่วไป ส่วนอ่อนของลําต้นจะถูกทําลาย
ทั้งที่ต้นเดิมและต้นที่เกิดจากไหล ซึ่งไส้เดือนฝอยจะเกาะอยู่ภายนอกและดูดกินนํ้าเลี้ยงอันเป็นผลให้เกิด
อาการของพืชดังกล่าว และต้นแคระแกร็นไม่ผลิดอกออกผล หากพืชถูกไส้เดือนฝอยทําลายมากพืชอาจตาย
ได้
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :
เกิดจากไส้เดือนฝอย Aphelenchoides fragariae สามารถเคลื่อนตัวไปได้ด้วยตัวเองอยู่
ในระดับผิวดินที่มีความชื้นสูง และการแพร่ระบาดมีนํ้าเป็นพาหะที่สําคัญหรือติดไปกับพันธุ์ที่นําไปปลูก