Page 140 -
P. 140

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      134


                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Botryodiplodia  theobromae  เกิดตุ่มนูน  pycnidia  ภายในมีสปอร์จํานวน
               มาก นํ้าฝนจะชะเอาสปอร์ของเชื้อราไปแพร่ระบาดเข้าทําลายผลอื่น ๆ

                        การป้องกันและกําจัด :

                               เมื่อเริ่มมีผลติด ก็ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น แคปทาโฟล 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือ คาร์

               เบนดาซิม 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร และเก็บผลที่เป็นโรคออกไปเผาไฟเสียแล้วพ่นสารเคมีอีกครั้งเมื่อผลมี
               ขนาดใหญ่เผลมะนาว



               6. โรคผลเน่า

                        ลักษณะอาการ :

                               โดยทั่วไปเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคจะเจริญอยู่ในดินที่มีความชื้นสูงตามบริเวณใต้พุ่ม
               ซึ่งน้อยหน่าจะผลิดอกออกผลในฤดูฝนจึงเป็นโอกาสให้เชื้อราเข้าทําลายผลในระยะนี้ ผลที่เจริญเต็มที่แล้ว

               จะเป็นโรคได้ง่ายกว่าผลที่ยังอ่อนอยู่   เมื่อสปอร์ของเชื้อราไปตกบนผลก็จะงอกเข้าทําลายตรงบริเวณร่อง

               ของผิวของผลทําให้เกิดเน่าเป็นสีม่วง และสีม่วงคลํ้า ตรงบริเวณใกล้เปลือกส่วนมากจะหลุดร่วงลงสู่พื้นดิน

               สําหรับผลที่อ่อนเมื่อเป็นโรคก็จะเน่าและแห้งเป็นสีนํ้าตาลไหม้ ร่วงหล่นไปก่อนกําหนดหรือก่อนที่จะสุก
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา  Phytophthora  nicotianae  var. parasitica  เชื้อราจะติดไปกับผลที่เป็นโรค

               หรือปลิวไปกับลมและติดไปกับขาของแมลงแพร่ระบาดไปสู่ผลอื่น ๆ ได้อีก
                        การป้องกันและกําจัด :

                               พ่นด้วยสารเคมี เช่น ออกซาดิซิน 80 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หรือเบนาแลกซิล หรือออฟฟิว

               เรส 20 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


               7. โรคใบร่วง

                        ลักษณะอาการ :

                               ใบเป็นจุดแล้วขยายเป็นแผลใหญ่สีดํา เมื่ออุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมก็จะมีตุ่มนูน

               ของเชื้อราสาเหตุของโรคสีดํา ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเกิดฝังอยู่บนแผลนั้นอยู่ทั่วไป ซึ่งภายในมีสปอร์อยู่เป็น
               จํานวนมาก บนผิวใบด้านบนอาจมีเส้นใยของเชื้อราสีขาวนวล เกิดเจริญอยู่ซึ่งมีลักษณะเหมือนรากไม้หรือ

               เส้นด้าย  นอกจากนี้เชื้อรายังเข้าทําลายก้านใบทําให้เน่า มีลักษณะอาการเป็นสีนํ้าตาลเข้ม หรือสีนํ้าตาลดํา

               ใบจะเริ่มเป็นสีเหลืองคลํ้าแล้วร่วงหล่นสู่พื้นดิน ถ้าหากเกิดโรครุนแรงจะมีผลให้ใบร่วงเหลือแต่กิ่งก้าน ซึ่ง

               จะค่อย ๆ แห้งและตายไป โดยเฉพาะกิ่งที่ยังมีขนาดเล็ก สําหรับกิ่งใหญ่อาจจะแตกยอดอ่อนออกมาใหม่ ใน
               ที่สุดก็จะเป็นโรคดังกล่าวอีกได้
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145