Page 159 -
P. 159

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      153


               2. โรคแอนแทรคโนส

                        ลักษณะอาการ :

                               โดยมีอาการบนใบอ่อนเป็นจุดเล็กๆ สีนํ้าตาลตรงกลางแผล  อาจขาดทะลุ อาการที่ผล

               อ่อนทําให้เกิดจุดสีนํ้าตาล แผลเน่าแห้ง ถ้าเป็นในระยะผลใกล้สุกความรุนแรงจะเห็นได้โดยเกิดเป็นจุดผล
               เน่าสีนํ้าตาล อาการเน่าจะแผ่ขยายออกไปมีลักษณะค่อนข้างกลม  แผลอาจบุ๋มเล็กน้อย บริเวณนั้นมีจํ้าเป็น

               รอยสีคลํ้า และเมือกสีแดงเกิดเป็นกลุ่มๆอยู่ทั่วไป  มีเม็ดสีดําเกิดเรียงต่อเนื่องอยู่โดยรอบแผลทําให้เหมือน

               เป็นวงแหวนเกิดซ้อนกันอย่างเห็นได้ชัด แต่อย่างไรก็ตามแผลมีขอบเกิดซ้อนกันลงไปด้วย โรคนี้นอกจาก
               จะเป็นกับผลบนต้นแล้ว โรคยังเกิดเป็นกับผลภายหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะพบเห็นอยู่เสมอตามตลาดผู้บริโภค

                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Glomerella cingulata) หรือ C. psidii ใน

               ระยะที่แผลขยายตัวเต็มที่ เป็นระยะที่เชื้อเริ่มสร้างสปอร์มาก ซึ่งสปอร์จะเกิดอยู่ในเม็ดสีดํา หรือตุ่มนูน
               ดังกล่าวและสามารถแพร่ระบาดไปตามลมเมื่อตุ่มนูนนั้นแตกออก นอกจากนั้นแมลงก็ช่วยแพร่เชื้อไปยังผล

               อื่นๆ ด้วย  และนํ้าฝนก็เช่นเดียวกันสามารถชะพัดพาสปอร์ไปแพร่โรคได้อีก

                        การป้องกันและกําจัด :
                               การป้องกันกําจัดโรคที่ผลเป็นสิ่งจําเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งที่มีราคาสูง เช่น พันธุ์

               เวียดนาม  สําหรับในแหล่งที่มีโรคระบาดรุนแรงพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อราก่อนเก็บผล 1 เดือน เช่น เบ

               โนมิล  10 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ทั้งในระยะเริ่มติดผลและผลที่โตเต็มที่แล้ว


               3. โรคเหี่ยว

                        ลักษณะอาการ :

                               ในระยะแรกใบจะแสดงอาการเริ่มเป็นสีเหลืองทั้งใบ และต่อมาปลายของใบจะไหม้เป็นสี

               นํ้าตาล โดยเฉพาะใบที่อยู่ปลายกิ่งจะมีอาการนี้มาก ใบมีอาการเหี่ยวเฉาลง แล้วใบจะเหี่ยวและแห้งร่วงหล่น

               ไป  สําหรับกิ่งที่เป็นโรค เปลือกของกิ่งจะบุ๋มเป็นแห่งๆ เมื่อลอกเปลือกจะพบเนื้อไม้เริ่มเป็นแผลสีนํ้าตาล
               อย่างไรก็ดีโคนต้นก็ถูกเชื้อนี้เข้าทําลาย  ทําให้โคนต้นผุและยังเป็นที่รากที่อยู่ใกล้ระดับผิวดินเกิดเน่าผุอัน

               เป็นเหตุให้ต้นเกิดอาการเหี่ยวขึ้นที่ใบเพราะรากถูกทําลาย  และจุดสําคัญเกิดจุดแผลทําลายผล เกิดจุดเน่า

               เสียหายมาก ทําให้ผลผลิตลดลงมาก
                        สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด :

                               เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. psidii สปอร์สามารถแพร่ระบาดไปกับลมและ

               นํ้าเข้าไปทําลายต้นอื่นได้อีก โดยเฉพาะที่รากและโคนลําต้นเกิดเน่าผุ ซึ่งทําให้รากไม่สามารถดูดนํ้าและแร่
               ธาตุขึ้นไปเลี้ยงลําต้น จึงเกิดอาการเหี่ยวเฉาตามมาอย่างเห็นได้ชัด และอาจต้นตายไปในที่สุด ส่วนใหญ่ผล

               จะเน่าเสียหายมาก ผลผลิตลดลง
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164