Page 92 -
P. 92

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               จัดการระบบวนเกษตรเพื่อใหไดผลผลิตตอบสนองตอความตองการของครัวเรือนตนเองและชุมชนในดานความ

               เพียงพอและการเขาถึงอาหารของชุมชน รวมถึงการออกแบบระบบวนเกษตรที่เอื้อตอการรักษาและเพิ่มพูน

               ความหลากหลายทางชีวภาพ ไปจนถึงการคนหาและพัฒนากลไกตลาดที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม  อยางไรก็ตาม

               เมื่อพิจารณากระบวนการผลิตตามโซคุณคาการจัดการะบบวนเกษตรเกษตรกรในพื้นที่ศึกษายังมีขอจํากัดของ
               ความรูดานการตลาดและการแปรรูปผลิตผลวนเกษตร


                      ในโซการผลิตของระบบวนเกษตร เกษตรกรเจาของที่ดินจะเปนสมาชิกกลุมเกษตรอินทรียซึ่งเปน

               องคกรชาวบานที่มีบทบาทสําคัญอยางยิ่งตั้งแตการสรางกระบวนการเรียนรูดานวนเกษตรและเกษตรกรรม

               ยั่งยืนใหแกสมาชิกวนเกษตรกรในตําบลแมทา สนับสนุนในเรื่องการออกแบบระบบวนเกษตร การคัดเลือก

               ชนิดพืช การจัดการ ไปจนถึงการชนสงและนําผลผลิตวนเกษตรไปสูตลาดและผูบริโภคในเมือง อีกทั้งยังมีการ
               ประสานงานกับองคกรและหนวยงานภายนอกชุมชนเพื่อเขามาสนับสนุนกระบวนการเรียนรูของสมาชิก


                      2) ที่ดินและระบบกรรมสิทธิ์


                      ที่ดินเปนปจจัยการผลิตที่เปนองคประกอบสําคัญของกระบวนการผลิตวนเกษตร พบวา ที่ดินสําหรับ

               การผลิตแบบวนเกษตรในตําบลแมทามีอยู 2 ประเภทหลัก ไดแก ที่ดินทํากินที่อยูนอกเขตปาซึ่งเปนพื้นที่ที่มี

               เอกสารสิทธิ์ที่ดิน และที่ดินทํากินในเขตปาสงวนแหงชาติขุนแมทาซึ่งเกษตรกรครอบครองแตยังไมมีเอกสาร

               สิทธิ์ในที่ดิน ทั้งนี้ ในกระบวนการผลิตวนเกษตรจําเปนอยางยิ่งตองพิจารณาและใหความสําคัญในเรื่องระบบ
               กรรมสิทธิ์ในที่ดินเพราะมันจะเกี่ยวของกับความมั่นใจและแรงจูงใจของเกษตรกรเจาของที่ดินสําหรับการที่จะ

               ลงทุนในที่ดินดังกลาว นอกจากนี้ ประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ของที่ดินยังเกี่ยวของกับเรื่องสิทธิและความชอบธรรม

               ในการเก็บเกี่ยวและใชประโยชนผลผลิตที่เกิดขึ้นจากระบบวนเกษตร หากระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินไมมีความ

               ชัดเจนอาจสงผลตอการตัดสินใจและแรงจูงใจของเกษตรกรเจาของที่ดินสําหรับการลงทุนและจัดการฟนฟูใช

               ประโยชนที่ดินเชิงอนุรักษในระยะยาว


                      ในป พ.ศ. 2558 เกษตรกรในตําบลแมทาที่ครอบครองและใชประโยชนที่ดินปาสงวนแหงชาติขุนแม
               ทา ไดรับอนุญาตใหใชประโยชนที่ดินอยางถูกตองตามกฎหมายภายใตการดําเนินการของ

               คณะกรรมการนโยบายที่ดินแหงชาติ หรือ คทช. โดยภายใตกลไกดังกลาวนี้มีการกําหนดเงื่อนไขใหเกษตรกร

               ไดรับอนุญาตใหใชประโยชนที่ดินเปนระยะเวลา 30 ป ในรูปแบบกรรมสิทธิ์รวม “แปลงรวม” กลาวคือ

               เกษตรกรผูไดรับอนุญาตสามารถใชประโยชนพื้นที่ไดอยางถูกตองตามกฎหมาย แตไมสามาถนําที่ดินที่ไดรับ

               อนุญาตใหใชประโยชนไปขายตอใหผูอื่น การพัฒนากลไกเพื่ออนุญาตใหชุมชนสามารถใชประโยชนที่ดินในเขต
               ปาแบบแปลงรวมทําใหชุมชนมีความมั่นใจมากขึ้นในการใชประโยชนที่ดิน และชวยทําใหชุมชนมีทางเลือกและ

               มีความชัดเจนมากขึ้นในการใชประโยชนทรัพยากรในระบบวนเกษตรที่ตนเองไดลงทุนลงแรงไป




                                                           92
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97