Page 28 -
P. 28
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขายส่งกรุงเทพฯ จะรับรู้ราคาส่งออกจากพ่อค้าส่งออกแล้วนํามาประมวลเข้ากับข้อมูลการผลิตในประเทศ
และปริมาณข้าวเปลือกที เข้าสู่ตลาดเพื อการกําหนดราคาขั นต้น และราคาดังกล่าวสามารถเปลี ยนแปลงได้
ตลอดเวลาตามข้อมูลที ได้รับในขณะนั น จากข้อมูลดังกล่าวทําให้ผู้ประกอบการโรงสีนํามาใช้เป็นหลักใน
การคํานวณราคารับซื อข้าวเปลือก สําหรับราคาข้าวเปลือกที ตลาดกลางนั นผู้ประกอบการตลาดกลางยังคง
ใช้ข้อมูลราคาจากโรงสีเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันก็อาศัยข้อมูลจากหยงในกรุงเทพฯ ด้วย
นโยบายด้านราคาข้าวของรัฐเป็นอีกปัจจัยหนึ งที สําคัญที มีผลต่อราคาข้าว เช่น นโยบายรับจํานํา
ข้าวเปลือกในอดีตที ทําให้เกษตรกรได้รับเงินเต็มมูลค่าตามเป้าหมายแต่กลับทําให้มีปริมาณข้าวคงเหลือใน
คลังเป็นจํานวนมาก นโยบายดังกล่าวมีผลกระทบต่อระดับราคาข้าวเปลือกในระยะสั นแต่สร้างผลกระทบ
ต่อการแข่งขันในตลาดส่งออกในระยะยาวและสร้างผลกระทบต่อประสิทธิภาพของตลาดตามมา
อาจกล่าวโดยสรุปถึงโครงสร้างราคาข้าวในตลาดต่าง ๆ ได้ดังนี ในตลาดการค้าระหว่างประเทศ ทั ง
ประเทศผู้ส่งออกและประเทศผู้นําเข้าจะอาศัยราคาในตลาดโลกซึ งมีอิทธิพลมาจากผู้ส่งออกและนําเข้าข้าว
มาเป็นข้อมูลอ้างอิงในการซื อขาย ผู้ส่งออกและผู้นําเข้าไม่สามารถกําหนดราคาขึ นเองได้ และเนื องจาก
ตลาดข้าวระหว่างประเทศเป็นตลาดของผู้ซื อ ราคาข้าวในตลาดโลกจึงถูกส่งผ่านไปยังแต่ละประเทศผ่าน
พ่อค้าผู้นําเข้าและผู้ส่งออก สําหรับประเทศไทย แม้จะเป็นหนึ งในผู้ส่งออกข้าวหลักของโลกแต่ก็ไม่
สามารถกําหนดราคาข้าวได้เองเพราะส่วนแบ่งการตลาดไม่มากนัก ดังนั นตลาดส่งออกข้าวของไทยจึงมี
พ่อค้าผู้ส่งออกเป็นผู้เชื อมโยงและส่งผ่านราคาข้าวในตลาดโลกกับราคาข้าวของตลาดส่งออกและราคาข้าว
ของตลาดภายในประเทศ จากนั นโรงสีและผู้ประกอบการท่าข้าวจะอาศัยราคาจากนายหน้า พ่อค้าขายส่งใน
ตลาดกรุงเทพฯ และพ่อค้าในตลาดส่งออก เป็นข้อมูลเพื อกําหนดราคาอ้างอิงในการรับซื อข้าวเปลือกใน
ตลาดท้องถิ นหรือจากเกษตรกร (Agricultural Futures Trading Commission, 2007)
ยางพารา
ราคายางพาราในตลาดโลก เกิดจากอุปสงค์และอุปทานของยางพาราในตลาดโลก (Agricultural
Futures Trading Commission, 2007) โดยปัจจัยที ส่งผลต่อราคายางพาราโลกทางด้านอุปสงค์ ได้แก่ ปริมาณ
การใช้ยางพาราของโลก โดยมีประเทศผู้ใช้ยางที สําคัญของโลก อาทิ จีน สหรัฐ ฯ อินเดีย ญี ปุ่น และ
มาเลเซีย และปริมาณการนําเข้ายางพาราของโลก โดยประเทศผู้นําเข้ายางพาราที สําคัญ ประกอบด้วย จีน
สหรัฐ ฯ ญี ปุ่น มาเลเซีย และ เกาหลีใต้ ปัจจัยที ส่งผลกระทบต่อปริมาณการใช้ และปริมาณการนําเข้า
ยางพาราของประเทศผู้ใช้และนําเข้าที สําคัญ อาทิ สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ นโยบายหรือการรณรงค์
ป้องกันโรคเอดส์ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางพาราในการผลิตถุงยางอนามัยเพิ มขึ น หรือการแพร่ระบาด
ของโรคติดต่อส่งผลให้ความต้องการใช้ยางพาราผลิตถุงมือแพทย์เพิ มขึ น
สําหรับปัจจัยที ส่งผลต่อราคายางพาราโลกทางด้านอุปทาน ได้แก่ ปริมาณการผลิตยางพาราของ
โลก โดยมีประเทศผู้ผลิตสําคัญอยู่ในทวีปเอเชีย อาทิ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย และเวียดนาม
2-8