Page 16 -
P. 16
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สรุปสําหรับผู้บริหาร
รับจ้างเกี่ยวนวดข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่มีการประกันราคาข้าวและจํานําข้าว ผู้ประกอบการจะ
มีรายได้สุทธิจากการเกี่ยวนวดข้าวเป็นจํานวนมาก และในระยะหลังๆเมื่อเริ่มได้รับความเชื่อถือ มีบัญชี
เงินฝากอยู่กับธนาคาร ก็จะใช้เงินกู้จากธนาคารอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งมีทั้งเงินกู้ที่มีกําหนดระยะเวลาชําระคืนที่
แน่นอน และแบบเบิกเกินบัญชี ธนาคารที่ปล่อยเงินกู้ให้มีทั้ง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในพื้นที่ ส่วนกรณีของโรงงานขนาดใหญ่แหล่งเงินทุน
ในขณะเริ่มแรกแตกต่างออกไปบ้าง คือเงินออมได้มาจากการประกอบอาชีพอื่นที่ไม่ใช่การทํานา เช่น
ได้มาจากการค้าขาย การให้บริการขนส่ง หรือการผลิตเครื่องนวดข้าว หรือ รถไถนา เป็นต้น
โรงงานขนาดใหญ่นั้นมีแหล่งที่มาของเงินทุนอื่นอีกแหล่งหนึ่ง คือ เป็นนายทุนเงินกู้ให้แก่
ลูกค้าที่ต้องการซื้อรถเกี่ยวนวดข้าวจากโรงงาน โรงงานขนาดใหญ่จึงมีรายได้จากส่วนเหลื่อมของอัตรา
ดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่ง เจ้าหนี้การค้าก็เป็นแหล่งที่มาของเงินทุนอีกแหล่งหนึ่งของโรงงานทั้งสองขนาด
โรงงานสามารถขอเครดิตจากผู้ขายชิ้นส่วน อะไหล่ต่าง ๆ ได้ (การซื้อสินค้าจากผู้ขายเป็นเงินเชื่อ)
แหล่งเงินทุนที่สําคัญอีกแหล่งหนึ่งคือ กําไรสะสม โรงงานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่มี
แหล่งที่มาของเงินกําไรสะสมอื่น ๆ อีก เช่นได้มาจาก การทํานา การให้เช่าที่นา การรับจ้างเกี่ยวนวดข้าว
ผสมเข้ามากับการขายรถเกี่ยวนวดข้าวด้วย และถ้าโรงงานมีการผลิตสินค้าอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรถ
เกี่ยวนวดข้าว เช่นการผลิตรถตีดิน โรงงานก็จะมีรายได้จากการขายสินค้าชนิดอื่น ๆ นั้นด้วย
รายได้ของโรงงานขนาดเล็ก น่าจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 12.5 – 100 ล้านบาทต่อปี (ขายรถ
เกี่ยวนวดข้าวได้ 5 – 40 คัน ณ ราคาเฉลี่ย 2.5 ล้านบาท) ในจํานวนนี้ประมาณร้อยละ 85 จะเป็น
ต้นทุนสินค้าขาย (ค่าใช้จ่ายในการผลิต รวมค่าจ้างแรงงานของตัวเองและครอบครัว) อีกประมาณร้อย
ละ 12 จะเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารและขายซึ่งจะเหลือเป็นกําไร (หรือขาดทุน) เพียงร้อยละ 3 เท่านั้น
ซึ่งเมื่อคิดออกมาเป็นตัวเงินแล้ว โรงงานจะได้กําไรเพียงเล็กน้อย
โรงงานขนาดใหญ่จะมีรายได้รวมต่อปีอยู่ในช่วง 300 – 450 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม
โรงงานขนาดใหญ่มีต้นทุนสินค้าขายโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับของโรงงานขนาดเล็ก แต่มีช่วงกว้างมากกว่า
พอสมควร คือตั้งแต่ร้อยละ 82 – 91 ของยอดขายรวม ซึ่งโรงงานขนาดใหญ่จะมีกําไรขั้นต้นอยู่ที่
ประมาณ 40 – 50 ล้านบาท ที่แตกต่างจากโรงงานขนาดเล็ก คือ มีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็น
สัดส่วนน้อยกว่าโรงงานขนาดเล็ก คือ ต่ํากว่าร้อยละ 10 ของยอดขาย การศึกษาพบว่ากิจการขนาดใหญ่
ที่มีกําไรสุทธิ จะมีกําไรสุทธิในช่วง 10 – 16 ล้านบาท (โรงงานที่ขาดทุนก็มี)
อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่อพิจารณาเฉพาะกิจการที่มีกําไรสุทธิ (ไม่รวมกลุ่มที่
ขาดทุนสุทธิ) พบว่าอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ของกิจการผลิตรถเกี่ยวนวดข้าวนั้นไม่สูง โรงงาน
ขนาดเล็กจะมีอัตราผลตอบแทนประมาณร้อยละ 5 ส่วนโรงงานขนาดใหญ่นั้น มีอัตราผลตอบแทน ที่
ร้อยละ 2.5 – 8.5 เมื่อพิจารณาถึงอัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนส่วนของผู้เป็นเจ้าของ พบว่ามีอัตราสูง
พอสมควร โรงงานขนาดเล็กจะมีอัตราผลตอบแทนที่ประมาณร้อยละ 14 ส่วนโรงงานขนาดใหญ่ที่มีกําไร
สุทธิ จะมีอัตราผลตอบแทนในช่วงร้อยละ 9 – 16
7