Page 15 -
P. 15
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สรุปสําหรับผู้บริหาร
การส่งออกไปขายต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศใกล้เคียงของโรงงานขนาดเล็ก
นั้นมีอีกอย่างน้อยหนึ่งช่องทางคือลูกค้ามาซื้อโดยตรงถึงโรงงาน และโรงงานจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับพิธีการ
ทางศุลกากร และการขนส่ง (แต่อาจให้คําแนะนํา)
ช่องทางการตลาดที่ขายสินค้าออกไปยังประเทศพม่าและกัมพูชา มีอีกช่องทางหนึ่งและมี
การส่งออกเป็นจํานวนมาก แต่เป็นการส่งออกรถเกี่ยวนวดข้าวมือสองทั้งหมด รถเกี่ยวนวดข้าวมือสองที่
ส่งออกไปส่วนมากคือรถเกี่ยวนวดข้าวคูโบต้า ช่องทางนี้ใช้การประมูลรถมือสอง ซึ่งมีการจัดประมูลใน
หลายจังหวัด ที่สําคัญคือที่จังหวัดอ่างทอง จังหวัดอื่น ๆ ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร กําแพงเพชร ชัยนาท
ลูกค้าจากพม่าและกัมพูชาที่ต้องการซื้อรถเกี่ยวนวดข้าวมือสอง ก็จะมาประมูลซื้อและนํากลับประเทศ
ของตนเอง
การเงิน
การจัดทํารายงานทางการเงินการสอบถามผู้ประกอบการโรงงานขนาดเล็ก พออนุมานได้
ว่า ยังไม่มีการจัดทํา งบดุล งบกําไรขาดทุน งบกระแสเงินสด หรือการจัดทํางบการเงินล่วงหน้า เท่าที่มี
การจัดทําคือ การจดบันทึกรายวัน ซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสถานประกอบการ
ส่วนกรณีของโรงงานหรือกิจการขนาดใหญ่ มีการจัดทํา รายงานทางการเงิน โดยปกติมีการจ้างพนักงาน
เพื่อมาทําการบันทึกบัญชี มีการจัดทําบัญชีต่างๆครบถ้วน ตั้งแต่บันทึกประจําวัน บัญชีแยกประเภท งบ
ดุล และงบกําไร ขาดทุน
ขนาดการลงทุน การศึกษาพบว่าโรงงานขนาดเล็กจะต้องลงทุนประมาณ 30 ล้านบาท ใน
จํานวนนี้ประมาณร้อยละ 55 เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรหรือสินทรัพย์คงที่ และการลงทุนทั้งหมดนี้
เป็นการลงทุนใน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 45 เป็นการลงทุนในสินทรัพย์
หมุนเวียน ซึ่งที่พบในรายงานการเงินนั้น ร้อยละ 90 กิจการจะนําไปลงทุนในสินค้าคงคลัง (สินค้า
คงเหลือ) ประเภทต่างๆ คือ สินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วรอขายหรือรอส่งให้ลูกค้า สินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต
และ ชิ้นส่วน อะไหล่ต่างๆ โรงงานไม่มีลูกหนี้การค้าเลย (ในขณะที่ทํารายงานการเงิน) ส่วนโรงงานขนาด
2
ใหญ่ จะต้องลงทุนประมาณ 200-400 ล้านบาท ในเงินลงทุนจํานวนดังกล่าวประมาณร้อยละ 25 – 50
โรงงานจะนําไปลงทุนในสินทรัพย์คงที่ ซึ่งเกือบจะร้อยละ 100 เป็นการลงทุนใน ที่ดิน อาคารและ
อุปกรณ์ คิดเป็นจํานวนเงิน 40 – 200 ล้านบาท
แหล่งเงินทุนและต้นทุนของเงิน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก เงินลงทุน
เมื่อเริ่มตั้งกิจการจะมาจากเงินออมของตนเองเป็นหลัก ในกรณีของโรงงานขนาดเล็ก เงินลงทุนเริ่มแรก
จะมาจากการทํานา (โรงงานขนาดเล็ก หรือแม้แต่โรงงานขนาดใหญ่ ในขณะปัจจุบันมีที่นาเป็นของ
ตนเอง และยังประกอบอาชีพการทํานาอยู่) ในระยะต่อๆมา เงินลงทุนจะได้มาจากการประกอบการ
2 ไม่นับรวมบริษัทสยามคูโบต้า เพราะขนาดการลงทุนแตกต่างจากกิจการของคนไทยมาก และการผลิตรถเกี่ยวนวด
ข้าวไม่ใช่สินค้าหลักของบริษัท เช่น ขนาดสินทรัพย์รวมของกิจการคนไทยขนาดใหญ่จะไม่เกิน 400 ล้านบาท แต่
สินทรัพย์รวมของบริษัทสยามคูโบต้าใช้เงินลงทุนเกือบ 35,000 ล้านบาท ยอดขายของกิจการคนไทยจะไม่เกิน 500
ล้านบาท แต่ยอดขายของบริษัทสยามคูโบต้า มากถึงประมาณ 44,000 ล้านบาท
6