Page 10 -
P. 10
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเกี่ยวนวดข้าวและการประกอบการรับจ้างเกี่ยวนวดข้าว ในเขตภาคกลางของประเทศไทย
Rice Combine Harvester Industry and Custom Hiring Services in the Central Region of Thailand
สรุปสําหรับผู้บริหาร
สรุปสําหรับผู้บริหารประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนแรกเป็นข้อสรุปของผลการศึกษา และ
ส่วนที่สอง เป็นข้อเสนอแนะมาตรการต่าง ๆ
1. สรุปผลการศึกษา
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ หนึ่ง เพื่อศึกษาสถานะอุตสาหกรรมการผลิตรถเกี่ยวนวด
ข้าวในปัจจุบัน พร้อมทั้งพัฒนาการที่มีมาในอดีต สอง เพื่อศึกษาสถานะการประกอบการบริการรับจ้าง
เกี่ยวนวดข้าวในปัจจุบัน และ สาม เพื่อศึกษานโยบาย มาตรการ และระเบียบต่าง ๆ ของรัฐที่เกี่ยวกับ
การผลิตรถเกี่ยวนวดข้าวและบริการรับจ้างเกี่ยวนวดข้าวทั้งที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรค
การศึกษาดําเนินการเฉพาะในเขตภาคกลางของประเทศไทย โดยใช้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและ
ทุติยภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ รวบรวมจากรายงานวิจัยและเอกสารต่างๆ ของสถาบันการศึกษาและส่วน
ราชการ ส่วนข้อมูลปฐมภูมิ นักวิจัยได้เก็บรวบรวมจากกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ประกอบด้วย อุตสาหกรรม
รถเกี่ยวนวดข้าวซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ 2 แห่ง โรงงานขนาดเล็ก 7 แห่ง ผู้ประกอบการรับจ้างเกี่ยว
นวดข้าว 31 ราย นายหน้ารับจ้างเกี่ยวนวดข้าว 13 ราย บริษัทลีสซิ่ง 1 ราย งานแสดงรถเกี่ยวนวดข้าว
4 แห่ง
การวิเคราะห์เป็นแบบสถิติพรรณนา (Descriptive statistics) เป็นการวิเคราะห์ อธิบาย
และนําเสนอผลในรูป จํานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยใช้ตาราง
1.1 ประวัติพัฒนาการเครื่องเกี่ยวนวดข้าวในประเทศไทย
ประเทศไทยเริ่มมีการศึกษาเครื่องจักรกลมาใช้เพื่อการเก็บเกี่ยวข้าว ในราวปี พ.ศ. 2497-
2506 โดยกองเกษตรวิศวกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกรมการข้าว ในขณะนั้น ได้มีการพยายาม
ศึกษาสร้างเครื่องต้นแบบในการเก็บเกี่ยวข้าวขึ้นโดย ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล แต่ไม่ประสบความสําเร็จ
ในแง่การยอมรับของเกษตรกร เนื่องจากสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ยังไม่เอื้ออํานวยที่จะให้มีการใช้
เครื่องจักรกลแบบนี้ จากนั้น มีการสั่งเครื่องเกี่ยวนวดข้าวจากประเทศตะวันตกเข้ามา แต่ไม่ได้รับความ
นิยมเพราะมีขนาดใหญ่และน้ําหนักมาก อย่างไรก็ตามถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นของการนําเครื่องจักรกล
เกษตรเข้ามาใช้ในกระบวนการเก็บเกี่ยว และได้มีการศึกษาพัฒนา เครื่องต้นแบบหรือการนําเข้า
เครื่องต้นแบบ มาศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องหลากหลายจนถึงปัจจุบัน
ในปี 2521 กองเกษตรวิศวกรรมได้ศึกษาทดสอบและพัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าววางรายจาก
ต้นแบบของประเทศญี่ปุ่นและนําไปสู่การส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้ ในปี พ.ศ.2522 ได้มีการนําเข้าเครื่อง
เกี่ยวนวดข้าวจากประเทศญี่ปุ่น และมีการนําเข้าจากประเทศอเมริกา ในปีพ.ศ. 2524 แต่พบว่าเครื่อง