Page 21 -
P. 21
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สรุปสําหรับผู้บริหาร
ปัญหาที่สามคือ ปัญหาที่เกิดจากการตั้งโรงงานผลิตของคูโบต้า โดยได้รับการสนับสนุน
จากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย ได้รับสิทธิพิเศษหลายๆด้าน (ซึ่งโรงงาน
ของคนไทยไม่เคยได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาล) คูโบต้าเข้ามาพร้อมกับความเข้มแข็งทางด้าน
เทคโนโลยี ระบบการผลิตที่ทันสมัย ระบบการตลาด ระบบส่งเสริมการขาย การเข้าถึงส่วนราชการ
สถาบันการศึกษา ระบบการให้บริการหลังการขาย และที่สําคัญที่สุดคือระบบสินเชื่อ (ลีสซิ่ง) ถึงแม้ว่า
รถเกี่ยวนวดข้าวของคูโบต้าจะมีจุดอ่อนทางเทคนิคที่ไม่สามารถเกี่ยวนวดในพื้นที่ที่เป็นหล่มได้ แต่ก็ทํา
ให้ส่วนแบ่งการตลาดรถเกี่ยวนวดข้าวของโรงงานคนไทยหายไปมากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ภาคอิสานตอนบน และเมื่อนานไปโรงงานของคนไทยอาจต้องเลิกกิจการไปในที่สุด
ปัญหาที่สี่ เป็นปัญหาทางด้านอุปทานกล่าวคือ รถเกี่ยวนวดข้าวทีผลิตโดยโรงงานของคน
ไทย (ไม่นับรวมคูโบต้า) เป็นรถที่แต่ละโรงงานผลิตพัฒนาขึ้นมาเอง มาตรฐานชิ้นส่วนต่างๆจึงแตกต่าง
กัน (นอกจากชิ้นส่วนที่ซื้อมาจากโรงงานผลิตชิ้นส่วนเดียวกัน) แม้รถเกี่ยวนวดข้าวจะผลิตจากโรงงาน
แห่งเดียวกัน ชิ้นส่วนในแต่ละปีอาจแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถเกี่ยวนวดข้าวที่ผลิตโดยโรงงาน
ขนาดเล็ก ชิ้นส่วนบางชิ้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้อาจใช้ทดแทนกันได้ แต่อาจต้อง
ปรับแต่งเพิ่มเติม ดังนั้นประสิทธิภาพการใช้งานของรถเกี่ยวนวดข้าวอาจแตกต่างไปจากเดิมได้
ปัญหาที่ห้า การพัฒนานวัตกรรมต่างที่เกิดขึ้น เกิดจากการลักจําและลองผิดลองถูก เป็น
การใช้เงินและเวลาของโรงงานเองทั้งหมด เรื่อง การวิจัยและพัฒนารถเกี่ยวนวดข้าว ได้รับความสนใจ
จากภาครัฐน้อยมาก
ปัญหาที่หก การบริหารงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การตลาด การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน
สินค้าคงคลัง การเงิน การบริหารงานบุคคล ฯลฯ เป็นการบริหารงานบนพื้นฐานของประสบการณ์เป็น
หลัก การบริหารงานใช้หลักวิชาการเข้ามาช่วยน้อยมาก
ปัญหาสุดท้ายคือ การส่งรถเกี่ยวนวดข้าวออกไปขายยังประเทศใกล้เคียง ยังมีปัญหา
หลายๆด้าน เช่น กําลังซื้อต่ํา ความรู้เรื่องการใช้และบํารุงรักษาซ่อมแซมรถเกือบไม่มี จํานวนขายของแต่
ละโรงงานยังมีไม่มาก ไม่คุ้มที่จะเปิดสาขาหรือส่งคนไปอยู่ประจํา รถมีขนาดใหญ่ น้ําหนักมาก ทําให้
ขนส่งลําบาก เสียค่าใช้จ่ายมาก
1.3 ผลการศึกษาการประกอบการรับจ้างเกี่ยวนวดข้าว
การตลาด
ลักษณะการตลาดไม่สามารถเน้นที่ตัวสินค้าได้ ถึงแม้ว่าบริการหรือตัวสินค้าจะดีกว่าผู้
ประกอบ- การอื่นก็ตาม ลักษณะการตลาดจึงเป็นแบบเน้นการขาย แข่งกันที่ การตรงต่อเวลา (ไปให้ได้
ตรงตามเวลาที่นัดหมาย) และความรวดเร็วในการเกี่ยวนวดข้าว
ในส่วนของตลาดเป้าหมายแบ่งออกได้เป็นสองส่วน ตลาดส่วนแรกคือพื้นที่เกี่ยวนวดที่อยู่
ในภาคกลาง อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัยของผู้ประกอบการ เป็นญาติ พี่น้อง หรือเพื่อนบ้าน
12