Page 24 -
P. 24

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                           สรุปสําหรับผู้บริหาร





                    และค่าใช้จ่ายผันแปรแตกต่างกัน  ค่าใช้จ่ายที่นํามาพิจารณาในส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายผันแปร  ซึ่งยังไม่รวม
                    ค่าใช้จ่ายคงที่เช่นค่าเสื่อมราคาและค่าซ่อมแซมใหญ่ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี การศึกษาพบว่ารายได้สุทธิต่อ

                    ไร่ในเขตภาคกลางเท่ากับ 200  บาท/ไร่  และรายได้สุทธิต่อไร่ในเขตภาคอิสานเท่ากับ 290  บาท/ไร่
                    นอกจากนี้ การขึ้นไปยังภาคอิสาน จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียเพิ่มเติม อีกประมาณ 25-30 บาทต่อไร่ ทั้งนี้
                    ยังไม่ได้นําค่าเบี้ยเลี้ยง ที่พัก ค่าอาหาร ในส่วนของผู้ประกอบการมารวมในการคํานวณนี้

                                ในการคํานวณถ้าสมมติให้ผู้ประกอบการรับจ้างเกี่ยวนวดข้าวในภาคกลางจํานวน 500  ไร่

                    และรับจ้างเกี่ยวนวดข้าวในภาคอิสานจํานวน 1,000  ไร่  ในการคิดค่าเสื่อมราคาสมมติว่า  รถเกี่ยวนวด
                    ข้าวใหม่มีราคา 2,500,000 บาท มีอายุใช้งาน 15 ปี มูลค่าซากเท่ากับ 0 บาท จากข้อสมมติต่างๆ พบว่า
                    ถ้าคิดในรูปเงินสดรับและเงินสดจ่าย  รายได้สุทธิเงินสดต่อปีของรถเกี่ยวนวดข้าว 1  คัน  จะเท่ากับ

                    245,000 บาท

                                เมื่อนํามาวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุนและระยะเวลาคืนทุนจะได้  อัตราผล
                    ตอบแทนของการลงทุน (IRR) = ร้อยละ 5.25 ระยะเวลาคืนทุน = 10.2 ปี


                    การจัดการการผลิต

                                การศึกษาตําแหน่งทําเลที่ตั้งของการประกอบการ  พบว่า  การประกอบการมักทําอยู่บน
                    แปลงที่ดินเดิมที่เป็นที่อยู่อาศัย  ผู้ประกอบการเพียงแต่ปรับปรุงขยับขยายพื้นที่ที่อยู่อาศัยออกไป  อยู่
                    ห่างไกลออกไปจากตัวเมือง เป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับแปลงนา ถนนหนทางที่ใช้ในการเดินทางจะเป็นถนนดิน

                    เล็กๆ เดินทางไม่ค่อยสะดวก

                                การวางแผนกําลังการผลิต  ในบรรดากิจการต่างๆ  ที่ไปเก็บข้อมูลพบว่า  ขนาดของพื้นที่
                    การให้บริการเกี่ยวนวดข้าว ของรถ 1 คัน ในแต่ละภาคและช่วงเวลาเป็นดังนี้ ภาคกลาง 500-1,000 ไร่

                    ต่อฤดู ภาคอิสาน 600-1,000 ไร่ ต่อฤดู

                    การจัดการห่วงโซ่อุปทาน


                                การจัดทําแผนการผลิต  เท่าที่พบในขณะที่ทําการเก็บรวบรวมข้อมูล  พบว่าผู้ประกอบการ
                    มีบันทึกการจัดทําแผนการให้บริการ     แต่จัดทําล่วงหน้าก่อนการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวไม่นานนัก
                    โดยมากแผนมักจะมีช่วงเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนข้างหน้า  ทั้งนี้ต้องการการประสานงาน  ยืนยันจากลูกค้า
                    และนายหน้า โดยปกติผู้ประกอบการจะให้บริการเกี่ยวนวดข้าว 3 ช่วงในรอบหนึ่งปี เป็นการให้บริการ

                    ในภาคกลาง 2 ช่วงและในภาคอิสาน 1 ช่วง ช่วงเวลาโดยประมาณเป็นดังนี้ ภาคกลาง ช่วงที่ 1 มี.ค.-
                    ส.ค.   ช่วงที่ 2 ก.ค.-ต.ค.     ภาคอิสาน พ.ย.-ม.ค.

                                การจัดทํากําหนดการการผลิต    ผู้ประกอบการมีการจัดทํากําหนดการการให้บริการไป

                    พร้อมกับการจัดทําแผนการให้บริการ  เช่นมีการกําหนดว่าจะให้  คนขับคนไหน  เอารถเกี่ยวนวดข้าวคัน
                    ไหน ไปให้บริการใคร ที่ไหน วัน เวลาใด ในท้องที่หนึ่งจะเอารถเกี่ยวนวดข้าวไปกี่คัน จะเอารถขนย้าย
                    คันไหนไป เป็นต้น นอกเหนือจากนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการจะกําหนดไปพร้อมๆกันคือ ทํากําหนดการซ่อม
                    บํารุงรถเกี่ยวนวดข้าว โดยปกติการซ่อม บํารุง ที่นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลืองทั้งหลาย จะ



                                                              15
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29