Page 23 -
P. 23

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                           สรุปสําหรับผู้บริหาร





                                ข้อมูลในเรื่องขนาดการลงทุน   หรือขนาดของทรัพย์สินทั้งหมดของกิจการ   เป็นสิ่งที่
                    ยากลําบากอย่างยิ่งที่จะกะประมาณให้ใกล้เคียงได้  ทั้งนี้เนื่องจากการลงทุนของทุกกิจการมีลักษณะค่อย

                    เป็นค่อยไป  ค่อยๆลงทุนไปเรื่อยๆ  ไม่ได้ลงทุนพร้อมกันทั้งหมดเลย  ดังนั้น  ในการศึกษานี้  ได้รายงาน
                    เฉพาะข้อมูลการลงทุนในตัวรถเกี่ยวนวดข้าวเท่านั้น เป็นราคาซื้อขาย ไม่ใช่ต้นทุนการผลิต ราคารถเกี่ยว
                    นวดข้าวขนาดใหญ่จะอยู่ที่ 2.4 - 3 ล้านบาทต้นๆ ค่าใช้จ่ายลงทุนในรถบรรทุกขนย้ายในพื้นที่ ถ้าเป็นรถ
                    10 ล้อเก่า ราคาจะประมาณ 0.95-1.5 ล้านบาท


                                ผู้ประกอบการที่มีการลงทุนใช้รถเกี่ยวนวดข้าวที่ใหม่กว่า  จะมีค่าระดับสัดส่วนการลงทุน
                    ในสินทรัพย์คงที่สูงกว่าผู้ประกอบการที่ใช้รถเกี่ยวนวดเก่าในการให้บริการ การลงทุนในรถเกี่ยวนวดใหม่
                    ถึงแม้จะต้องลงทุนในต้นทุนคงที่สูง   แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการเกี่ยวนวดต่ําหรือมีค่าใช้จ่ายผันแปรต่ํา

                    ตรงกันข้ามกับผู้ที่ใช้รถเกี่ยวนวดเก่าในการรับจ้าง  แม้ต้นทุนคงที่จะต่ํา  แต่ต้นทุนผันแปร  โดยเฉพาะค่า
                    ซ่อมบํารุงนั้นจะสูงกว่า

                                ในเรื่องแหล่งเงินทุนและต้นทุนของเงินการศึกษา  พบว่า  ในการลงทุนซื้อรถเกี่ยวนวดคัน

                    แรกนั้น  จะเริ่มลงทุนจากการใช้เงินทุนของตนเองซึ่งจะเป็นการเก็บออมจากการทํานา  ทําไร่  ทําสวน
                    การรับจ้างนวดข้าว (ไม่ใช่เกี่ยวนวดข้าว)  หรือกิจกรรมอื่นๆ  ที่ทําก่อนตัดสินใจทํากิจกรรมรับจ้างเกี่ยว
                    นวดข้าว รวมกับเงินที่ขอยืมจาก พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง(ไม่ใช่การกู้ยืมที่มีดอกเบี้ย) อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ส่วน
                    ที่เหลือเป็นเงินที่ได้จากการ กู้ยืมจากสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                    ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ โดยมีหลักทรัพย์เป็นที่ดินจํานองค้ําประกัน เสียดอกเบี้ยในอัตราปกติ

                    ของธนาคาร แหล่งเงินทุนสําหรับรถคันต่อมา ส่วนหนึ่งคือ รายได้จากการรับจ้างเกี่ยวนวดข้าวของรถคัน
                    แรก  จากการขายรถเก่าออกไป  และจากการทํากิจกรรมการผลิตเดิม  ส่วนที่เหลือคือเงินที่ได้จากการ
                    กู้ยืมสถาบันการเงิน และ/หรือ เครดิตจากโรงงานผู้ผลิตจําหน่าย(ขายเชื่อ หรือขายเงินผ่อน) หรือการใช้

                    บริการลีสซิ่ง

                                เงินทุนหมุนเวียนที่ผู้ประกอบการต้องใช้เมื่อออกไปรับจ้างเกี่ยวนวดข้าว  ส่วนมากใช้ผสม
                    กันจากหลายแหล่ง เช่น จากเงินออมที่ได้จากการรับจ้างเกี่ยวนวดข้าวเอง หรือจากการทํานา ทําไร่ หรือ

                    กิจกรรมอื่นๆของครอบครัว  ได้จากเงินกู้ของ  ธกส.  จากแหล่งนอกระบบ  จากกองทุนหมู่บ้าน  เป็นต้น
                    ส่วนน้ํามันหรือ น้ํามันเครื่องมักจะได้เครดิตจากปั๊มที่ขายให้โดยอาจให้จ่ายค่าน้ํามันกันทุก 15 วันหรือ 1
                    เดือนเป็นต้น

                                การศึกษาพอจะสรุปได้ว่า  กิจการที่เปิดดําเนินการใหม่และซื้อรถเป็นคันแรก  จะใช้เงินกู้

                    จากสถาบันการเงินในสัดส่วนสูง  แต่มักจะไม่เกินร้อยละ 50  ของราคารถเกี่ยวนวดข้าวที่ซื้อ  เมื่อ
                    ดําเนินการต่อมาและมีการจัดซื้อเพิ่มเติมคันที่ สอง สาม หรือ สี่ ในภายหลัง สัดส่วนของการใช้เงินกู้จาก
                    สถาบันการเงินจะลดลง  สัดส่วนของเงินลงทุนของผู้ประกอบการเองจะสูงขึ้นเป็นลําดับ  ดังนั้นลักษณะ
                    สัดส่วนหนี้สิน โดยปกติคือการซื้อรถเกี่ยวนวดข้าวคันแรก จะมีสัดส่วนหนี้สินสูง และจะลดลงเรื่อยๆ ใน

                    การซื้อรถเกี่ยวนวดข้าวคันต่อๆไป

                                รายได้  กําไร  และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน  ได้แยกพิจารณารายได้สุทธิต่อไร่เป็น
                    สองส่วนคือ  รายได้สุทธิต่อไร่ในเขตภาคกลาง  และรายได้ต่อไร่ในเขตภาคอิสาน  ซึ่งทั้งสองเขตมีรายได้



                                                              14
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28