Page 27 -
P. 27

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                           สรุปสําหรับผู้บริหาร





                    1.4   นโยบาย มาตรการต่างๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้อง


                                นโยบายและมาตรการต่างๆ        ของรัฐที่เกี่ยวข้องได้รวบรวมไว้เฉพาะที่จะมีผลเป็นการ
                    สนับสนุนหรือทําให้เกิดอุปสรรค   ต่อการดําเนินงานของอุตสาหกรรมผลิตรถเกี่ยวนวด   หรือการ
                    ประกอบการรับจ้างเกี่ยวนวดข้าว  และเป็นนโยบาย  ที่รัฐนํามาใช้ในช่วงปี 2556  –  ปัจจุบัน  ซึ่ง
                    ประกอบด้วยนโยบายและมาตรการที่จะเป็นประโยชน์โดยตรง         นโยบายและมาตรการที่น่าจะเป็น
                    ประโยชน์ทางอ้อม  นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย  นโยบายและมาตรการที่น่าจะเป็นการควบคุม

                    มากกว่าการส่งเสริม   และมาตรการการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ําและเพิ่มขีด
                    ความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)



                    นโยบาย มาตรการต่างๆ ของรัฐที่จะเป็นประโยชน์โดยตรง

                                มาตรการที่น่าจะเป็นประโยชน์โดยตรงกับอุตสาหกรรมผลิตรถเกี่ยวนวดข้าว      คือ
                    มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)  ใน

                    ระยะเร่งด่วน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ดังนี้

                                มาตรการทางการเงิน  ประกอบด้วย  หนึ่ง  โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ําเพื่อเป็นเงินทุน
                    หมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ
                    ผู้ประกอบการ SMEs ช่วยเสริมสภาพคล่องให้ SMEs ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องสามารถประคองตัวให้

                    อยู่รอดและสามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา  สอง  การปรับปรุงหลักเกณฑ์และ
                    เงื่อนไขการค้ําประกันสินเชื่อโครงการ ค้ําประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme
                    (PGS-5)  ผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)  เพื่อช่วยให้ SMEs  ที่ขาด

                    หลักประกันในการกู้ยืมเข้าถึงแหล่งเงินได้มากขึ้น สาม มาตรการสนับสนุน SMEs ผ่านการร่วมลงทุน
                    ใน SMEs ระยะเริ่มต้น (Start-up) ที่มีศักยภาพสูง เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนอีกทางหนึ่งสาหรับ SMEs ที่
                    มีศักยภาพให้สามารถเติบโตได้ต่อไป

                                มาตรการทางการคลัง  ประกอบด้วย  หนึ่ง  มาตรการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสา
                    หรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และเพิ่มขีดความสามารถ
                    ของ SMEs  ให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้  ซึ่งจะทําให้โครงสร้างอัตราภาษีเงินได้นิติ
                                                                                                         3
                    บุคคลสําหรับ SMEs  สอง  มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ (New Start-up)
                    ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ประกอบกิจการที่จดทะเบียนพาณิชย์ระหว่าง

                    วันที่ 1  ตุลาคม 2558  ถึง 31  ธันวาคม 2559  เป็นเวลา 5  รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน  สาม
                    มาตรการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้แก่ภาคธุรกิจ  ได้แก่มาตรการคงภาษีเงินได้นิติบุคคลที่
                    อัตรา 20%  เป็นการถาวร  เพื่อเป็นการคลายความกังวลให้ภาคธุรกิจเรื่องความไม่แน่นอนทางด้านภาษี
                                                                                   4
                    สี่  มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการเงินร่วมลงทุน (venture capital)   โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติ
                    บุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสําหรับกิจการเงินร่วมทุน  ที่เป็นการลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยี


                    3
                      ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เพราะไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย
                    4
                      ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เพราะไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย
                                                              18
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32