Page 32 -
P. 32

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                           สรุปสําหรับผู้บริหาร





                    ชะลอเวลาออกไป  อีกไม่เกิน 10  ปี  อุปสงค์ใหม่ในส่วนนี้จะหมดไป  ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่
                    จะต้องรีบพัฒนาตลาดต่างประเทศ  โดย  เฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกๆ  คือประเทศใกล้เคียงเช่น  พม่า

                    และกัมพูชา เป็นต้น

                                มาตรการที่ควรนํามาใช้เพื่อเพิ่มจํานวนการส่งออกรถเกี่ยวนวดข้าว มีดังนี้

                                มาตรการทางการคลัง

                                   •  Export tax credit  คือเมื่อโรงงานส่งออกรถเกี่ยวนวดข้าวได้หนึ่งคัน  ก็ให้นํา
                                       มูลค่าขายมาหักลดภาษีได้  จํานวนหนึ่ง  เช่นอัตราร้อยละ 10  หรือ 12  เป็นต้น
                                       (เท่ากับ ร้อยละ 3 หรือ 5 มากว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม) และถ้ามีค่าใช้จ่ายในการฝึกหัด

                                       บุคลากรในการดูแล  ซ่อมแซมและใช้รถเกี่ยวนวดข้าวที่เกิดขึ้นในต่างประเทศก็ให้
                                       สามารถนํามารวมหักเป็นค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน


                                มาตรการทางการเงิน

                                   •  สนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนเพื่อไปจัดงานแสดงสินค้า และสาธิตการใช้รถเกี่ยว

                                       นวดข้าวในต่างประเทศ
                                   •  สนับสนุนการจัดทําคู่มือเป็นภาษาต่างประเทศ

                                   •  ให้ทุนการศึกษา อบรม แก่ครูอาชีวศึกษา เกษตรกรผู้นํา และผู้ประกอบการ ใน
                                       ต่างประเทศ เพื่อมาเรียนรู้การใช้งาน การดูแลรักษา ซ่อมแซม รถเกี่ยวนวดข้าว
                                       ณ สถาบันอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง  หรือวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีใน
                                       เขตภาคกลาง ที่มีการปลูกข้าวและมีรถเกี่ยวนวดข้าวใช้


                                แนวทางเพื่อเพิ่มอุปทาน

                                ความพยายามที่จะเพิ่มอุปทานของรถเกี่ยวนวดข้าวนั้น   สามารถทําได้ทั้งการปรับปรุง

                    ทางด้านเทคโนโลยี (hardware) ที่ใช้ในการผลิต และการปรับปรุงทางด้านบุคลากร (software) ทั้งด้าน
                    การผลิตและการจัดการ

                                การพัฒนาด้านเทคโนโลยี (hardware)


                                ในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีนั้นการศึกษาพบว่า     โรงงานการผลิตเกือบทั้งหมดยังใช้
                    เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการผลิตแบบพื้นฐานอยู่ (ยกเว้นโรงงานขนาดใหญ่) มีจํานวนน้อยมากที่ใช้
                    เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย  เช่นการใช้  เครื่องเจาะ(กลึง)ห้าแกน (เครื่อง CNC)  เครื่องตัดโลหะแบบใช้
                    แสงเลเซอร์ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม CAD CAM เพื่อช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนต่างๆ

                    เครื่องเชื่อม  หรือการลงทุนเพื่อจัดทําสถานที่เก็บชิ้นส่วนต่างๆให้เป็นระบบ  เป็นต้น  ซึ่งอาจจะมีเหตุผล
                    หลายด้านเช่น มีเงินลงทุนไม่เพียงพอ ยอดขายยังไม่มากพอ หรือยังไม่มีความรู้ในการใช้ (ในสมัยที่เป็น
                    ลูกน้อง ยังไม่แยกตัวออกมา ยังไม่มีเครื่องมือดังกล่าวใช้) เป็นต้น การมีเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัย จะ

                    ทําให้โรงงานสามารถผลิตสินค้ามีมาตรฐานมากขึ้น ผลิตได้เร็วขึ้น คุณภาพดีขึ้น ดังนั้นจึงควรมีมาตรการ



                                                              23
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37