Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                           สรุปสําหรับผู้บริหาร





                    เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตรถเกี่ยนวดข้าวและการประกอบการรับจ้างเกี่ยวนวดข้าวดังนี้ดังนี้ 1)
                    มาตรการเพื่อเสริมสภาพคล่อง     เพิ่มวงเงิน   ลดต้นทุนทางการเงิน   โดยผ่านกระบวนการให้

                    สินเชื่อ ประกอบด้วยมาตรการย่อยดังนี้ 1.1) มาตรการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน  เพื่อเป็นทุน
                    หมุนเวียน  ในกิจการเสริมสร้างสภาพคล่องสถานประกอบการ  และเพิ่มผลผลิตแรงงาน 1.2) มาตรการ
                    สินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต (Productivity Improvement Loan) 1.3) มาตรการการค้ํา
                    ประกันสินเชื่อ ในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 5 1.4) มาตรการการค้ําประกัน

                    สินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme สําหรับผู้ประกอบการใหม่ (PGS New / Start-up)
                    2)  มาตรการลดต้นทุนผู้ประกอบการ  โดยผ่านกระบวนการทางภาษีและเงินสมทบ ประกอบด้วย
                    2.1) มาตรการการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 2.2) มาตรการการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล
                    2.3) มาตรการการนําส่วนต่างของค่าจ้างที่จ่ายเพิ่มขึ้นจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ําในปี 2555  มาหักเป็น

                    ค่าใช้จ่ายก่อนชําระภาษี  ในปี 2556 2.4) มาตรการการนําค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
                    ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 มาหักลดหย่อนภาษี 2.5) มาตรการการ
                    ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล         กรณีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

                    2.6) มาตรการการหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 2.7) มาตรการการลดอัตราภาษีเงินได้หัก  ณ  ที่จ่าย  3)
                    มาตรการเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้ผู้ประกอบการ ประกอบด้วย 3.1) มาตรการการให้กู้ยืมเงินกองทุน
                    พัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ     0.1       เพื่อใช้ในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
                    3.2) มาตรการการจัดคลินิกพัฒนาฝีมือแรงงานเคลื่อนที่ไปยังสถานประกอบการต่าง ๆ


                    การใช้ประโยชน์มาตรการต่างๆของกิจการที่ทําการศึกษา

                                การเก็บข้อมูลจากกิจการต่างๆที่ทําการศึกษาพบว่า  ร้อยละร้อยของกิจการต่างๆที่นักวิจัย
                    ได้เก็บรวบรวมข้อมูล ไม่ได้ใช้บริการจากมาตรการต่างๆเลย ซึ่งมาจากเหตุหลัก ๆ บางประการคือ หนึ่ง

                    การไม่สมดุลของข่าวสาร  คือกิจการต่างๆ  ไม่ทราบว่ามีมาตรการช่วยเหลือ  ธุรกิจขนาดกลางและขนาด
                    เล็ก (SMEs)  ของรัฐ  ซึ่งน่าจะมีปัญหาในด้านการประชาสัมพันธ์  สอง  มีผู้ประกอบการเพียงหนึ่งรายที่
                    สํารวจระบุว่า การกู้เงินจากธนาคารออมสิน มีรายละเอียด ขั้นตอนมาก  (red tape) จึงไม่ไปใช้บริการ

                    การกู้จาก  ธกส.  หรือ  ธนาคารพาณิชย์อื่นๆ  ที่ใช้บริการกันอยู่แล้วสะดวกกว่า  สาม  การเข้าถึงเพื่อใช้
                    บริการมีข้อจํากัด  ก่อนที่จะเริ่มมีมาตรการของรัฐ  กิจการต่างๆ  ก็ช่วยเหลือตัวเองมาตลอด  ใช้บริการ
                    ต่างๆของ  ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ  และ  ธกส.  หมดแล้ว  หลักทรัพย์ค้ําประกันถูกใช้หมดแล้ว marginal
                    gain  ที่จะได้เพิ่มจากใช้บริการของมาตรการต่างๆ  อาจไม่คุ้มกับความยุ่งยาก (marginal cost)  ที่จะ
                    เกิดขึ้น  สี่  ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ  อาจไม่สนใจประชาสัมพันธ์  หรือ  แจ้งมาตรการต่างๆของรัฐให้

                    ผู้ประกอบการทราบ  เพราะธนาคารพาณิชย์เองก็มีเงินฝากเหลืออยู่เป็นจํานวนมากที่จะต้องปล่อยให้กู้
                    ออกไปเพื่อหารายได้ และการให้กู้โดยใช้เงินรับฝากของธนาคารเองก็มี marginal return สูงกว่า การ
                    ปล่อยให้กู้ตามมาตรการของรัฐ ธนาคารพาณิชย์จึงไม่ให้ความสนใจ หรือ ไม่ให้ความสําคัญกับการปล่อย

                    เงินกู้ตามมาตรการของรัฐ





                                                              21
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35