Page 35 -
P. 35
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สรุปสําหรับผู้บริหาร
2.2 ข้อเสนอแนะสําหรับการประกอบการเกี่ยวนวดข้าว
แนวคิดในการกําหนดข้อเสนอแนะคือ พยายามให้เส้นอุปทานขยับออกมาทางขวา เพราะ
ในสภาพดังกล่าว อัตราค่าจ้างเกี่ยวนวดข้าว จะอ่อนตัว ไม่ขยับสูงขึ้น และเกษตรกรชาวนาจะเป็นผู้ได้
ประโยชน์ มีวิธีการอยู่หลายวิธี คือ
หนึ่ง พยายามทําให้มีรถเกี่ยวนวดข้าวเข้ามาบริการในพื้นที่ให้มากขึ้น ในหลายๆแห่งเกิด
สภาพ ความไม่สมบูรณ์ของข่าวสาร (imperfect information) คือชาวนาเองไม่ทราบว่ามีรถเกี่ยวนวด
ข้าวของใครที่สามารถเข้ามาให้บริการในพื้นที่ได้บ้าง ด้านผู้ประกอบการรถเกี่ยวนวดข้าวก็ไม่ทราบว่า มี
พื้นที่ใด หรือเกษตรกรรายใดบ้างที่ยังไม่มีรถที่จะเกี่ยวนวดข้าว การพัฒนาระบบข่าวสารในด้านนี้ขึ้นมา
จะช่วยให้เกิดมีการแข่งขันมากขึ้น เกษตรกรเองไม่มีข้อมูลเรื่อง ราคา คุณภาพ และ ความพร้อมของรถ
เกี่ยวนวดข้าวที่จะมาให้บริการ รถเกี่ยวนวดข้าวเองก็ไม่มีข้อมูล ในเรื่องที่ตั้งของแปลง ขนาด สภาพทาง
กายภาพของแปลงนาและข้าว ความสามารถในการจ่ายของเกษตรกร ฯ การจัดทําข้อมูลจะต้อง
พิจารณาในเรื่องนี้ด้วย
สอง การจัดสอน หรืออบรม วิธีการในการ ซ่อมบํารุง ดูแล รถเกี่ยวนวดข้าว ให้อยู่ใน
สภาพดี ทําให้ต้นทุนผันแปรในการใช้ลดลง การจัดสอนวิธีการเกี่ยวนวดข้าวในแปลงนา การจัดอบรม/
สอนนั้นมีเฉพาะโรงงานผลิตรถเกี่ยวนวดข้าวขนาดใหญ่เท่านั้นที่ให้บริการอยู่ ส่วนโรงงานขนาดเล็ก
ดําเนินการในเรื่องนี้น้อยมาก เพราะมีทรัพยากรค่อนข้างจํากัด รัฐควรดําเนินการแทนซึ่งอาจจัดโดยกอง
วิศวกรรมเกษตร หรือวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในพื้นที่
อีกวิธีหนึ่งเป็นการเตรียมคนที่กําลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน คือการสอนเด็กนักเรียนที่เรียน
อยู่ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งระดับ ปวช. และ ปวส. สอนทั้งเรื่องการซ่อมแซม ดูแล
รักษาเครื่องจักรกล รถเกี่ยวนวดข้าว และการใช้รถเกี่ยวนวดข้าว ในการเกี่ยวนวดข้าวจริงๆ สอนให้ได้
ตามาตรฐานคุณวุฒิที่ควรจะเป็น
ในส่วนนี้ต้องใช้นโยบายการคลังในการขับเคลื่อน โดยจัดงบประมาณในการจัดซื้อรถเกี่ยว
นวดข้าวให้แก่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ในพื้นที่ และจัดงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน
และฝึกอบรม ให้กับทั้งผู้ที่ทํางานอยู่แล้ว และเด็กที่กําลังเรียนอยู่
สาม การเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นมาตรการที่รัฐบาลทําอยู่แล้วใน
ปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะในช่วงฤดูเกี่ยวนวดข้าว ผู้ประกอบการต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงมาก บางครั้งต้อง
กู้ยืมจากแหล่งนอกระบบ ต้องเสียอัตราดอกเบี้ยแพง การมีเงินทุนหมุนเวียนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ํา จะทํา
ให้ต้นทุนการผลิตต่ําลง สิ่งที่ต้องระวังคือ อย่าให้ต้นทุนในการกู้ยืม (transaction costs) สูง เช่น
ต้องการข้อมูล(ที่ไม่มี)มาก ต้องการรายละเอียดเสียเวลาในการจัดเตรียมมาก ต้องเดินทางไปสํานักงานที่
อยู่ห่างไกล เป็นต้น เพราะถ้าหาก ต้นทุนในการกู้ยืมสูงมากและเมื่อนําไปรวมกับอัตราดอกเบี้ยที่ต้อง
จ่ายทําให้ต้นทุนทั้งหมดสูงกว่าการกู้ยืมจากแหล่งนอกระบบแล้ว เกษตรกรก็จะไม่ไปใช้บริการจาก
มาตรการของรัฐ
26