Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว










                                                        บทคัดย่อ




                           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้  หนึ่ง  เพื่อศึกษาสถานะอุตสาหกรรมการผลิตรถเกี่ยวนวดข้าวในปัจจุบัน  สอง
               เพื่อศึกษาสถานะการประกอบการบริการรับจ้างเกี่ยวนวดข้าวในปัจจุบัน และ สาม เพื่อศึกษานโยบาย มาตรการ และระเบียบ
               ต่าง ๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรค

                           การศึกษาดําเนินการเฉพาะในเขตภาคกลางของประเทศไทย  ในระหว่างช่วงเดือนพฤษภาคม  2558  ถึง
               เมษายน 2559   ข้อมูลทุติยภูมินั้น  รวบรวมจากรายงานวิจัยและเอกสารต่างๆ  ของสถาบันการศึกษาและส่วนราชการ
               ส่วนข้อมูลปฐมภูมิ  นักวิจัยได้เก็บรวบรวมจากกลุ่มเป้าหมายต่างๆ  ประกอบด้วย  อุตสาหกรรมรถเกี่ยวนวดข้าวซึ่งเป็นโรงงาน
               ขนาดใหญ่ 2 แห่ง โรงงานขนาดเล็ก 7 แห่ง ผู้ประกอบการรับจ้างเกี่ยวนวดข้าว 31 ราย นายหน้ารับจ้างเกี่ยวนวดข้าว 13
               ราย บริษัทลีสซิ่ง 1  ราย งานแสดงรถเกี่ยวนวดข้าว 4 แห่ง การวิเคราะห์เป็นแบบสถิติพรรณา (Descriptive statistics) เป็น
               การวิเคราะห์ อธิบาย และนําเสนอผลในรูป จํานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยใช้ตาราง

                           อุตสาหกรรมเครื่องเกี่ยวนวดข้าวในประเทศไทย  สามารถแบ่งได้เป็น 2  กลุ่ม  คือ  เป็นโรงงานกลุ่มที่มีการจด
               ทะเบียนอย่างเป็นทางการ(โรงงานขนาดใหญ่)  มีอยู่ 5 โรงงาน และกลุ่มที่ไม่มีการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ (โรงงานขนาด
               เล็ก หรือ อู่)  มีการประมาณการว่ามีโรงงานขนาดเล็กทั้งประเทศมีมากกว่า 380 โรง

                           ผู้ผลิตยังคงให้ความสําคัญกับตลาดในประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลาง  ขนาดของตลาดในประเทศกะ
               ว่ามีทั้งหมดประมาณ 23,000 คัน และคาดว่ามีรถเกี่ยวนวดที่ยังสามารถให้บริการอยู่ประมาณ 13,000-14,000 คัน ในขณะที่
               กําลังการผลิตของทุกโรงงาน กะว่ามีประมาณ 2,200 คันต่อปี (ไม่รวมที่ผลิตโดยบริษัทคูโบต้า) ดังนั้น ถ้าทุกโรงงานผลิตเต็ม
               กําลังการผลิตในเวลาเพียงไม่เกิน 10  ปี  ก็จะสามารถสนองความต้องการได้ทั้งหมด  มีการส่งออกไปขายต่างประเทศบ้างแล้ว
               แต่จํานวนยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับจํานวนที่ขายในประเทศ ได้แก่ ประเทศ พม่า กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา บังคลาเทศ มาลี
               กานา และสุรินัม จํานวนที่ขายไปยังประเทศพม่ามีมากที่สุด รองลงไปคือกัมพูชา

                           รถเกี่ยวนวดข้าวที่ผลิต (ไม่นับรวมคูโบต้า)  เป็นรถที่แต่ละโรงงานผลิตพัฒนาขึ้นมาเอง  มาตรฐานต่าง  ๆ  จึง
               แตกต่างกัน  การพัฒนานวัตกรรมต่างที่เกิดขึ้น  เกิดจากการลักจําและลองผิดลองถูก (C&D)  การลงทุนในเรื่องการวิจัยและ
               พัฒนา (R&D)  มีน้อยมาก  เครื่องมือที่ใช้ยังเป็นแบบพื้นฐาน  การใช้เครื่องมือที่มีความแม่นยําสูง  รวมทั้งการใช้โปรแกรม
               คอมพิวเตอร์ในการผลิตและบริหาร มีใช้ในโรงงานบางแห่งเท่านั้น การบริหารงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การตลาด การ
               ผลิต การจัดการห่วงโซ่อุปทาน สินค้าคงคลัง การเงิน การบริหารงานบุคคล เป็นการบริหารงานบนพื้นฐานของประสบการณ์
               เป็นหลัก การบริหารงานใช้หลักวิชาการน้อยมาก

                           ตลาดการให้บริการรับจ้าวเกี่ยวนวดข้าวแบ่งออกได้เป็นสองส่วน  ตลาดส่วนแรก  คือ  พื้นที่เกี่ยวนวดที่อยู่ใน
               ภาคกลาง  ตลาดอีกส่วนหนึ่งของการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวคือ  พื้นที่ทํานาในภาคอิสาน  ราคาค่าบริการพื้นที่ในภาคกลาง
               เท่ากับ 500  บาทต่อไร่  ราคาบริการในภาคอิสานจะประมาณ 600-700  บาทต่อไร่  การให้บริการจะติดต่อโดยตรงกับ
               ผู้ใช้บริการทางโทรศัพท์มือถือ ส่วนการไปให้บริการในภาคอิสานนั้นยังต้องใช้บริการของนายหน้าทั้งสิ้น

                           การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร  ประกอบด้วย  การลงทุนในอาคาร  โรงเรือน  เครื่องมือซ่อมบํารุง  และอุปกรณ์ที่
               เกี่ยวข้อง คือ รถบรรทุกข้าวเปลือก และรถเทรลเลอร์ ผู้ประกอบการขนาดเล็กจะมีรถ 1-2 คัน ส่วนขนาดใหญ่จะมีรถ 7-10
               คัน ราคารถเกี่ยวนวดข้าวขนาดใหญ่จะอยู่ที่ 2.4 - 3 ล้านบาทต้นๆ รายได้สุทธิต่อไร่ในเขตภาคกลางเท่ากับ 200 บาท/ไร่ และ
               รายได้สุทธิต่อไร่ในเขตภาคอิสานเท่ากับ 290  บาท/ไร่   แต่การขึ้นไปยังภาคอิสาน  จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียเพิ่มเติม  อีก
               ประมาณ 25-30 บาทต่อไร่ ทั้งนี้ยังไม่ได้นําค่าเบี้ยเลี้ยง ที่พัก ค่าอาหาร ในส่วนของผู้ประกอบการมารวมในการคํานวณนี้ จาก
               ข้อสมมติต่างๆ  เมื่อนํามาวิเคราะห์  พบว่า  อัตราผลตอบแทนของการลงทุนและระยะเวลาคืนทุนจะได้อัตราผลตอบแทนของ




                                                           (1)
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42