Page 39 -
P. 39
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
16-30
(9.3) สาระสําคัญของนโยบายจากมติคณะรัฐมนตรีและการดําเนินการ
นโยบายจากมติคณะรัฐมนตรีและดําเนินการ มีสวนที่สอดคลองกับแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 9 ดังนี้ ดานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา ไดมีการจัดทํายุทธศาสตร
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา ในลุมน้ําแบบบูรณาการ 4 ยุทธศาสตร คือ (1) การสรางเสถียรภาพน้ําตนทุน
(2) การพัฒนาพื้นที่แกมลิง (3) การพัฒนาและจัดสรรน้ําในพื้นที่ประสบภัยแลงซ้ําซาก และ (4) การรักษา
คุณภาพน้ําของแหลงน้ําและสรางความตระหนักในคุณคาน้ํา โดยมีการแตงตั้งคณะกรรมการพัฒนาลุมน้ํามูล
และมีการรักษาโครงการจัดทําแผนแมบทการพัฒนาลุมน้ําทะเลสาบสงขลา
กรณีแนวทางการจัดการคุณภาพน้ําใตดิน ไดมีการกําหนดอัตราคาอนุรักษน้ํา
บาดาลเพื่อลดการทรุดตัวของแผนดิน มีการพัฒนาระบบการปองกันและชวยเหลือประชาชนในกรณีการเกิด
อุทกภัย โดยการจัดทําระบบ Early Warning การจัดหาน้ําเอนกประสงคนั้น ในชวงแผนพัฒนาฯ นี้ มีการกอสราง
เขื่อนขนาดใหญ (ความจุ 100 ลาน ลบ.ม ขึ้นไป) มีแหงเดียวคือเขื่อนกิ่วคอหมา สวนแหลงน้ําขนาดกลาง ขนาด
เล็ก และบอน้ําในไรนามีการดําเนินการอยางตอเนื่อง รวมทั้งการเก็บคาน้ําดิบจากทางน้ําชลประทาน มีการ
แกไขปญหาการขาดแคลนน้ําเพื่ออุตสาหกรรมในภาคตะวันออก โดยการขุดเจาะบอบาดาล วางทอจากอาง
เก็บน้ําประแสร มายังนิคมอุตสาหกรรม สวนน้ําอุปโภคและบริโภคมีการจัดหาในพื้นที่บนเกาะที่เปนแหลง
ทองเที่ยวที่สําคัญ เชน เกาะสมุย และเกาะภูเก็ต การชวยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติทั้งภัยแลงและ
อุทกภัย ดําเนินการเชนเดียวกับชวงแผนพัฒนาที่ผานมา
ในสวนการดําเนินการตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงตอรัฐสภานั้น ไดมีการรณรงค
กอสรางฝายแมวตามพระราชดําริ “โครงการ 80 พรรษา 80 พันฝาย” ในกรณีการควบคุมมลพิษในแหลงน้ํา
และการบําบัดน้ําเสีย ไดมีการนําเงินกองทุนสิ่งแวดลอมมาใชในการกอสรางระบบรวบรวมน้ําเสีย และทั้งการ
แกไขปญหาเลี้ยงกุงกุลาดําในพื้นที่น้ําจืด
ในป 2545 ไดมีการจัดตั้งกรมทรัพยากรน้ําและกรมทรัพยากรน้ําบาดาล
ตามนโยบายที่รัฐบาลคณะที่ 54 ไดแถลงไวเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ 2544 เรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพการ
บริหารจัดการทรัพยากรน้ําในทุกระดับ
อยางไรก็ตามมีขอสังเกตวาในชวงแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ ซึ่งอยูในชวงของ
รัฐบาลคณะที่ 54 และคณะที่ 55 ไมมีการเสนอรางพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา ที่เคยดําเนินการมาในชวง
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 และ 8 แตอยางใด
อีกกรณีหนึ่งก็คือ การมีสวนรวมของประชาชนนั้น ไมปรากฏการ
ดําเนินการที่ชัดเจน และยังคงมีการรองเรียนจากประชาชนในกรณีการเปดประตูระบายน้ําเขื่อนปากมูล
(9.4) สรุปความสอดคลองของนโยบายทั้ง 3 แหลง
ในชวงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 9 นั้น ตั้งแตการใหความ
เห็นชอบกับนโยบายในแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ คําแถลงนโยบายของรัฐบาลตอรัฐสภาและนโยบายจากมติ
คณะรัฐมนตรี รวมทั้งการดําเนินการนั้น เปนการดําเนินการโดยรัฐบาลคณะที่ 54 และคณะที่ 55 ซึ่งมี
นายกรัฐมนตรีคนเดียวกัน นโยบายทั้ง 3 แหลง จึงมความสอดคลองกันเปนสวนใหญ ยกเวนการมีสวนรวม
ของประชาชนที่กําหนดไวในแผนพัฒนาฯ มิไดมีปรากฏในนโยบายของคณะรัฐมนตรี และมีการดําเนินการแตอยางใด
รวมทั้งการเก็บคาน้ําจากภาคเกษตรที่ไดกําหนดไวตั้งแตแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1