Page 18 -
P. 18

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                       / บทที่ 1 บทนําสู่การควบคุมกิจกรรมการผลิต                                           12



                       ผลิตอยู่ การจัดสรรงานให้กับหน่วยผลิตหรือเครื่องจักรนั้นจะถูกเรียกว่า การจัดภาระงานเครื่อง  จักร

                       (machine loading) และการจัดสรรงานต่าง ๆ ในโรงงานทั้งหมดจะถูกเรียกว่า การจัดภาระงาน โรงงาน
                       (shop loading)



                              การส่งงานเข้าสู่ช่วงการผลิต (Dispatching)

                              การส่งงานเข้าสู่ช่วงการผลิต จะอาศัยข้อมูลจากการกําหนดตารางการผลิตที่ทําเสร็จเรียบ

                       ร้อยแล้ว หน้าที่ของการส่งงานเข้าสู่ช่วงของการผลิต จะเกี่ยวข้องกับการจ่ายใบสั่งให้กับพนักงาน
                       ประจําเครื่องจักร ซึ่งจะรวมถึงใบสั่งงาน ใบแสดงขั้นตอนการผลิตแบบของชิ้นส่วน (pente  drawing)

                       และใบกํากับงาน (job Instruction) หน้าที่การส่งงานเข้าสู่ช่วงการผลิตในบางโรงงานนั้น จะกระทํา โดย

                       หัวหน้างาน (Foreman) ส่วนในโรงงานอื่น ๆ อาจจะกระทําโดยบุคคลซึ่งเรียกว่า ผู้ส่งงานเข้าสู่
                       ช่วงการผลิต (Dispatcher)



                              การติดตามและการเร่งงาน (Follow-up and Expedition)

                              ในบางครั้งแผนการผลิต และ ตารางการผลิตที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว ก็อาจจะผิดพลาดได้ ดังนั้น
                       ผู้ที่มีหน้าที่ในการติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน จะต้องทําการเปรียบเทียบความก้าวหน้า

                       ของงานที่ทําได้จริงกับตารางการผลิตที่วางไว้ ถ้าหากใบสั่งผลิตใดหรืองานใดทําได้ช้ากว่ากําหนดที่วาง

                       ไว้ ผู้ที่มีหน้าที่ในการเร่งรัดงานจะได้หาวิธีในการแก้ไขได้อย่างถูกต้องและทันเวลา การแก้ไขปัญหา

                       ดังกล่าวนี้อาจจะรวมถึงการจัดลําดับใบสั่งงานที่ทํางานบนเครื่องจักรใดเครื่องจักรหนึ่งเสียใหม่ แจ้งให้
                       หัวหน้างานปรับเครื่องจักรเดิมเสียใหม่ เพื่อให้งานอื่น ๆ สามารถที่จะทําการผลิตบนเครื่องจักรนั้นได้

                       หรือ อาจจะให้คนงานยกเอาชิ้นส่วนต่าง ๆ จากแผนกหนึ่งไปยังแผนกต่อไปเพียงเพื่อให้การผลิตดําเนิน

                       ต่อไป เป็นต้น มีอยู่ด้วยกันหลายเหตุผลที่ทําไมสิ่งต่างๆ จึงได้ดําเนินไปอย่างผิดพลาดในการผลิต เช่น
                       ชิ้นส่วนต่างๆ จากแผนการผลิตก่อนหน้ายังมาไม่ถึง เกิดความเสียหายของเครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ ที่

                       มีอยู่ไม่เพียงพอ ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของชิ้นงานและอื่น ๆ เป็นต้น


                              การติดตามกําลังการผลิตด้ วยการควบคุ มปริ มาณงานเข้ าและผลผลิต

                               (Capacity Monitoring with Input/output Control)

                              หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิตที่สําคัญประการหนึ่งก็คือการคํานึงถึงความสอดคล้อง

                       ระหว่างแผนที่วางไว้กับผลการปฏิบัติงานจริง ซึ่งสามารถทราบได้โดยการเฝ้าติดตามความก้าวหน้าของ
                       งานตามกําหนดเวลาเพื่อดูว่าสามารถทํางานตามแผนที่วางไว้หรือไม่ และ ดูว่ามีปัญหาที่จําเป็นต้อง
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23