Page 19 -
P. 19
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
/ บทที่ 1 บทนําสู่การควบคุมกิจกรรมการผลิต 13
ดําเนินมาตรการแก้ไขหรือไม่ วิธีการที่จะทําให้รู้ได้ดีที่สุดในกรณีดังกล่าวนี้ก็คือ การใช้เทคนิค การ
ควบคุมปริมาณงานเข้าและผลผลิต(Input/output Control) ซึ่งเป็นวิธีเฝ้าติดตามงานที่ไหลผ่านหน่วย
ผลิตหน่วยใดหน่วยหนึ่ง โดยทําการวางแผนเพื่อกําหนดปริมาณงานเข้า และ ออก จากหน่วยผลิต
หลังจากนั้นนําแผนไปเปรียบเทียบกับปริมาณงานเข้าจริงและผลผลิตที่ออกจริง เพื่อทําการวิเคราะห์
และประเมินว่าหน่วยผลิตดังกล่าวยังอยู่ภายใต้สภาวะการควบคุมหรือไม่(ซึ่งสภาวะการควบคุมดังกล่าว
ก็คือ กําลังการผลิต และช่วงเวลานํา ซึ่งมีแถวคอยหรืองานระหว่างผลิตเป็นองค์ประกอบที่สําคัญ)
การกําหนดตารางเวลาผู้ส่งมอบและการติดตาม(Vendor Scheduling and Follow-up)
การกําหนดตารางเวลาผู้ส่งมอบ เป็นส่วนที่ต่อขยายออกไปจากหน้าที่การควบคุมกิจกรรมการ
ผลิตแต่ก็ยังไม่ใช่เป็นหน้าที่ของการควบคุมกิจกรรมการผลิตอย่างสมบูรณ์ การกําหนดตารางเวลาผู้ส่ง
มอบ เป็นหน้าที่การประสานงานกับผู้ส่งมอบเพื่อควบคุมการจัดส่งชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบจากผู้ส่งมอบให้
เป็นไปตามกําหนดเวลาที่ได้วางแผนไว้ในแผนความต้องการวัสดุ หลายๆบริษัทโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
บริษัทที่ใช้ระบบ JIT ในการควบคุมวัสดุ ได้กําหนดให้ หน้าที่การกําหนดตารางเวลาผู้ส่งมอบส่วน
ใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมกิจกรรมการผลิต
การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
ฝ่ายควบคุมคุณภาพ มีหน้าที่ในการสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วน ต่าง
ๆ ที่บริษัทผลิตขึ้นมา รวมทั้งความสอดคล้องกับมาตรฐานที่ได้กําหนดขึ้นโดยผู้ออกแบบ หน้าที่ ในการ
ควบคุมคุณภาพนี้จะต้องกระทํากันในหลาย ๆ จุดของการผลิตทั่วทั้งโรงงาน วัสดุหรือชิ้นส่วน ที่ซื้อจาก
ภายนอก จะต้องมีการตรวจสอบในช่วงที่ของเหล่านั้นนํามาส่งให้กับบริษัท สําหรับชิ้นส่วน ที่ทําการ
สร้างหรือผลิตขึ้นเองในโรงงาน ก็จะต้องมีการตรวจสอบ โดยปกติจะทําการตรวจสอบหลาย ครั้งใน
ระหว่างที่อยู่ในช่วงของกระบวนการผลิต การตรวจสอบขั้นตอนสุดท้ายของผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป จะทํา
การทดสอบทั้งหน้าที่การทํางานและคุณภาพที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา
การจัดส่งและการบริหารพัสดุคงคลัง (Shipping and Inventory Management)
ขั้นตอนสุดท้ายของการวางแผนและควบคุมการผลิต จะเกี่ยวข้องกับการส่งสินค้าให้กับลูก
ค้า หรือนําชิ้นส่วนและสินค้าที่ผลิตขึ้นเข้าไปเก็บไว้ในคลังสินค้า ชิ้นส่วนและสินค้าที่จะต้องนําไปเก็บ
ไว้ในคลังนี้จะถูกเรียกรวมๆ กันไปว่า พัสดุคงคลัง (Inventory) จุดประสงค์ของการบริหารพัสดุคงคลัง
ก็คือ เพื่อให้แน่ใจว่า สินค้าแต่ละประเภทและแต่ละแบบจะมีอยู่อย่างเพียงพอที่จะตอบสนองต่อ ความ