Page 15 -
P. 15

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                       / บทที่ 1 บทนําสู่การควบคุมกิจกรรมการผลิต                                            9



                       ฐานข้อมูลการผลิตและวิศวกรรม (Engineering and Manufacturing Data Base)

                              ฐานข้อมูลนี้จะประกอบไปด้วย ข่าวสาร ข้อมูลทุก ๆ อย่างที่จําเป็นสําหรับการผลิตชิ้นส่วน

                       และการประกอบผลิตภัณฑ์ ซึ่งในฐานข้อมูลนี้จะรวมถึง บัญชีรายการวัสดุ (Bill fo Material) ข้อมูล

                       การออกแบบชิ้นส่วน(อาจจะเป็นแบบทางวิศวกรรม หรือในรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสม)  ใบแสดงขั้น
                       ตอนการผลิต (Process Route Sheets) หน่วยผลิตและเครื่องมือต่างๆ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดทํา

                       ขึ้นเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันแล้วนํามารวมกันเป็นชุดฐานข้อมูลการผลิต ในการออกแบบ

                       ฐานข้อมูลต้องพยายามหลีกเลี่ยงการซํ้ากันของข้อมูลที่มีการบันทึก และต้องคํานึงถึงความสะดวกใน
                       การปรับปรุงให้แฟ้ มข้อมูลเป็นปัจจุบัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการออกแบบทางด้านวิศวกรรมหรือ

                       ผลิตภัณฑ์ หรือมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่



                       การกําหนดตารางการผลิตหลัก (Master Scheduling)

                              แผนการผลิตรวม (The aggregate production plan) จะถูกนําไปเปลี่ยนให้เป็น ตารางการผลิต

                       หลัก ซึ่งตารางการผลิตหลักนี้ จะระบุ ชนิดและจํานวนของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่จะต้องทํา การผลิตให้
                       แล้วเสร็จตามช่วงเวลาต่าง ๆ หลักจากนั้นตารางการผลิตหลักเหล่านี้ก็จะถูกนําไปเปลี่ยนให้เป็นคําสั่ง

                       ซึ้อวัตถุดิบและคําสั่งผลิตชิ้นส่วนชนิดต่างๆ สําหรับคําสั่งผลิตชิ้นส่วน จะถูกนําไปจัดทําเป็นตารางการ

                       ผลิตสําหรับชิ้นส่วนดังกล่าวต่อไป กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องดําเนินไปอย่างได้จังหวะและ

                       สอดคล้องกับวันกําหนดส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ได้กําหนดไว้ในตารางการผลิตหลัก สําหรับช่วงเวลาที่ใช้
                       ในตารางการผลิตหลักอาจจะมีหน่วยเป็น เดือน สัปดาห์ หรือ วัน ก็ได้ และจะวางแผนครอบคลุม

                       ระยะเวลาประมาณ 2-4 เดือน ตารางการผลิตหลักที่เสร็จสมบูรณ์นั้นจะต้องอยู่ภายใต้กําลังการผลิตของ

                       โรงงาน ไม่ควรให้มีปริมาณของผลิตภัณฑ์มากกว่ากําลังการผลิตของโรงงานที่สามารถจะทําการผลิต
                       ได้ ซึ่งกําลังการผลิตของโรงงานนี้ก็สามารถพิจารณาได้จากจํานวนเครื่องจักรและแรงงานของโรงงาน

                       ที่มีอยู่



                       การวางแผนกําลังการผลิตขั้นต้น (Rough-Cut Capacity Planning)

                              การวางแผนกําลังการผลิตขั้นต้น จะเกี่ยวข้องกับการคํานวณหากําลังการผลิตของเครื่องจักร
                       และ แรงงานที่ต้องการ สําหรับการผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนที่กําหนดไว้ในตารางการผลิตหลัก ผล

                       จาก การคํานวณที่ได้นี้ จะต้องนําไปเปรียบเทียบกับกําลังการผลิตของเครื่องจักร และแรงงานที่มีอยู่ว่า

                       เพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอจะได้ดําเนินการหาทางปรับปรุงแก้ไขต่อไป เช่น ทําล่วงเวลา จ้างผู้

                       รับเหมาช่วงจากภายนอก หรืออาจจําเป็นจะต้องมีการปรับแก้ไขตารางการผลิตหลัก ทั้งนี้จะต้อง
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20