Page 20 -
P. 20

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                       / บทที่ 1 บทนําสู่การควบคุมกิจกรรมการผลิต                                           14



                       ต้องการของลูกค้า อย่างไรก็ตามความต้องการของบริษัทนั้นต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ดัง กล่าว

                       โดยใช้เงินลงทุนเกี่ยวกับพัสดุคงคลังให้น้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้การบริหารพัสดุคงคลังจึงต้องเข้า มา
                       เกี่ยวข้องกับการวางแผนและควบคุมการผลิต ทั้งนี้เพราะจะต้องมีการประสานงานกันระหว่างยอด ขาย

                       สินค้าชนิดต่างๆ ที่บริษัทคาดไว้ ระดับการผลิตและระดับพัสดุคงคลังของบริษัท การควบคุม พัสดุคง

                       คลังนี้มักจะรวมอยู่ในฝ่ายของการวางแผนและควบคุมการผลิต
                              หน้าที่การบริหารพัสดุคงคลัง ไม่ใช่จะครอบคลุมเฉพาะแต่เพียงสินค้าสําเร็จรูปเท่านั้น แต่จะ

                       ใช้กับวัตถุดิบ ชิ้นส่วนที่ซื้อจากภายนอก และงานระหว่างผลิต (Word-in-process) ในโรงงานด้วย ใน

                       การวางแผนและควบคุมพัสดุคงคลังแต่ละประเภทนั้น จะพยายามทําให้ความเสี่ยงที่เกิดจากการมีพัสดุ

                       คงคลังน้อยเกินไป (อาจจะทําให้พัสดุคงคลังขาดแคลน) และค่าใช้จ่ายในการมีพัสดุคงคลังมากเกินไปมี
                       ความสมดุลกัน

                              ภายในระบบของการผลิต การบริหารพัสดุคงคลัง ค่อนข้างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการวาง

                       แผนความต้องการวัสดุ การนําระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ได้มีส่วนช่วยให้วัตถุประสงค์ของการบริ-
                       หารพัสดุคงคลัง บรรลุผลสําเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



                       การงานแผนและควบคุมต้นทุน (Cost Planning & Control)

                              การประมาณการต้นทุนและช่วงเวลานํา มีจุดประสงค์เพื่อกําหนดราคาและประมาณการต้นทุน

                       รวมทั้งการจัดเตรียม กําหนดเวลาการทํางาน โดยบริษัทจะหาค่าโดยประมาณของช่วงเวลานําในการ
                       ผลิต (Manufacturing lead time) และต้นทุนการผลิต (Production  cost) ของผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ

                       สําหรับช่วงเวลา นําในการผลิต คือ เวลารวมทั้งหมดที่ต้องใช้สําหรับกระบวนการผลิตชิ้นส่วนใด

                       ชิ้นส่วนหนึ่งในโรงงาน ส่วนต้นทุนการผลิต คือ ผลรวมของต้นทุน วัสดุ แรงงาน และต้นทุนค่าโสหุ้ย

                       ต่าง ๆ ที่จําเป็นต่อการผลิตชิ้นส่วนที่กําหนด การประมาณการต้นทุนและช่วงเวลานําเหล่านี้จะอาศัย
                       ข้อมูลที่บรรจุอยู่ใน ใบแสดงขั้นตอนการผลิต (route sheet) แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อและข้อมูลทางบัญชีที่

                       ได้มีการจดบันทึกไว้

                              ระบบการวางแผนและควบคุมต้นทุน จะประกอบไปด้วยฐานข้อมูลที่ใช้ในการประมาณการ
                       ต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดของบริษัท และยังรวมถึงการวิเคราะห์และรวบรวมต้นทุน เพื่อ

                       คํานวณหาต้นทุนจริง (actual costs) ของการผลิตว่าเป็นเท่าไหร่ และเปรียบเทียบต้นทุนจริงกับ ต้นทุนที่

                       ประมาณการไว้ เพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลถึงสาเหตุของความแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายที่ควร จะเป็น และ
                       ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทําให้ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ของ บริษัทตํ่าสุด
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25